เครดิตภาษีเงินปันผล

เครดิตภาษีเงินปันผล


สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน

1.เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร เกิดจากอะไร

       เครดิตภาษีเงินปันผลเป็นอีกสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ เนื่องมาจากความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้

       พูดง่ายๆ คือ “เงินปันผล” มาจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่กำไรสุทธินี้ได้เสียภาษีไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อบริษัทนำกำไรสุทธิมาจ่ายเป็นเงินปันผล นักลงทุนยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นการ

       เสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน ภาครัฐจึงอนุญาตให้นักลงทุนขอ “เครดิตภาษีเงินปันผล” คืนได้ บางส่วน นักลงทุนสามารถดูอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทได้จาก หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งนักลงทุนต้องเก็บหนังสือรับรองนี้ไว้เป็นหลักฐาน เผื่อกรณีที่กรมสรรพากรขอหลักฐานเพิ่มเติมภายหลังด้วย

2.อยากเครดิตภาษีเงินปันผลต้องทำอย่างไร

       ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่า... เงินปันผลที่ได้รับสามารถใช้เครดิตภาษีได้หรือไม่ วิธีง่ายๆ ให้ดูว่า บริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้เรานั้นเสียภาษีนิติบุคคล หรือไม่

       ถ้าบริษัทนั้น “เสียภาษี” นักลงทุน สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ แต่จะนำมาเครดิตได้ในอัตราเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทที่ลงทุนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละเท่าใด นำอัตราภาษีมาแทนค่าตามสูตรข้างต้น จะได้สัดส่วนการเครดิตภาษีเงินปันผล หรือถ้าบริษัท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา ก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผลในแต่ละอัตรา ซึ่งจะระบุชัดเจนอยู่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย

       แต่ถ้าบริษัทนั้น “ไม่เสียภาษี” นักลงทุนจะ ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ นักลงทุนอาจต้องพิจารณาต่อว่าบริษัทไม่เสียภาษี
เนื่องจากอะไร เช่น

  • เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI)
  • กฎหมายพิเศษยกเว้น เช่น พาณิชย์นาวี ซึ่งบริษัทเรือหรืออู่เรือส่วนใหญ่เข้าข่ายเกณฑ์ข้อนี้ แต่อาจต้องตรวจสอบกับบริษัทนั้นๆ อีกครั้งว่า... จดทะเบียนยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่

3.ควรนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีและใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่

       เทคนิคคร่าวๆ ว่า… จะเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่ ให้พิจารณาจาก ฐานภาษีเงินได้ของนักลงทุน เปรียบเทียบกับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ของบริษัทที่นักลงทุนได้รับเงินปันผล

ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเรา > อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท ไม่ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล”

ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเรา < อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล”

       ข้อควรระวังในการเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผล คือ หากตัดสินใจเลือกนำเงินปันผลมาเครดิตภาษีแล้ว จะต้องนำเงินปันผลทุกรายการที่ได้รับมาคำนวณ จะเลือกนำเฉพาะรายการใดรายการหนึ่งไม่ได้

       เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว... อย่าลืมไปใช้สิทธิขอคืนภาษีกันเชียว ถึงจะเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่รวมกันหลายๆ ปีก็คงเป็นเงินจำนวนไม่น้อย หรือหากท่านใดไม่ประสงค์จะขอคืน ก็สามารถบริจาคเงินภาษีให้รัฐบาลนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ต่อไป

แหล่งที่มา : Link

 1536
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่าและเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
สิ่งสำคัญของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ผู้บริหารและเจ้าของกิจการที่ไม่ใช่นักการบัญชี อาจมองถึงผลกำไรของธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารด้านการตลาดซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่หากไม่มีข้อมูลตัวเลขจากการจัดทำบัญชี ก็คงไม่สามารถวิเคราะห์และนำมาพิจารณาเพื่อจะนำไปบริหารเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม  เรามีคำแนะนำ 10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชีบริการรับทำบัญชีมาให้เป็นแนวทางดังนี้ 
งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง
การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน “ผังบัญชี” (Chart of Account)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์