8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี

8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี



แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะมีข้อดีแบบนี้อยู่ แต่ในระบบภาษีของเราก็มีสิ่งที่เรียกว่ารายจ่ายต้องห้ามทางภาษีอยู่ กล่าวคือ มีรายจ่ายจำนวนหนึ่งในบัญชีบริษัททั่วไปที่ต้องนับเป็นรายจ่าย เพราะเป็นการเสียเงินของบริษัท แต่รายจ่ายเหล่านั้น ห้ามนำไปคิดคำนวณเป็นรายจ่ายตอนเสียภาษีเด็ดขาด เพราะผิดกฎหมายส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มีหลักๆ ดังนี้

1. รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท

            รายจ่ายแบบแรกที่ห้ามนำไปหักภาษีเด็ดขาดคือรายจ่ายของผู้บริหารบริษัทที่อยู่นอกระเบียบบริษัท เช่น ค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลืองานบุญ งานบวช หรือกระทั่งงานศพของพนักงาน เป็นต้น รายจ่ายแบบนี้ ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจน ห้ามนำมาหักภาษีเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามอำเภอใจและเป็นรายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารบริษัทเอง ไม่ใช่ของบริษัท

            ดังนั้นในทางที่ดีถ้าบริษัทมองว่ารายจ่ายเหล่านี้ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นและจะใช้เงินบริษัทมาจ่าย ก็ควรจะทำการระบุไว้ในระเบียบของบริษัทให้ชัดครับ เช่น ระบุว่าผู้บริหารจะมีค่าน้ำมันเดือนละเท่าไร หรือถ้าพนักงานไปบวชหรือเสียชีวิต บริษัทจะให้เงินช่วยเหล่าเท่าไรในฐานะของสวัสดิการพนักงาน เป็นต้น

2. รายจ่ายเพื่อรับรองลูกค้าที่เกินโควต้า

            รายจ่ายแบบที่สองที่ห้ามนำไปหักภาษี คือค่ารับรองลูกค้าที่เกินโควต้า คนทำธุรกิจโดยทั่วไปก็น่าจะเข้าใจว่ากว่าจะปิดดีลกับลูกค้าได้ ก็ต้อง “เลี้ยง” ลูกค้าไปหลายรอบ อย่างไรก็ดีการเลี้ยงเหล่านี้ในทางกฎหมายมีโควต้าว่าต้องเลี้ยงไม่เกินหัวละ 2,000 บาทต่อครั้งเท่านั้น (นับหัวรวมพนักงานที่พาไปเลี้ยงด้วย) และรายจ่ายพวกนี้จะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้บริษัทด้วย โดยเพดานของรายจ่ายตรงนี้สูงสุดอยู่ที่ 10 ล้านบาท นหมายความว่าไม่ว่าบริษัทจะต้องเลี้ยงลูกค้าแค่ไหนกว่าจะปิดดีลได้ แต่รายจ่ายตรงนั้นจะไม่สามารถเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีถ้าเกินเพดานที่ว่าไปครับ

3. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ

            รายจ่ายแบบที่สามที่ต้องห้ามเลยในการเอามาหักภาษี คือรายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ พูดง่ายๆ ก็คือ รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนไปว่าจ่ายไปที่ใคร อันนี้อาจพบได้มากในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทต้องตั้งงบเบ็ดเตล็ดไว้จัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างอุปกรณ์สำนักงาน ล้างแอร์บริษัท หรือกระทั่งการจ้างมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปส่งเอกสาร ประเด็นคือ รายจ่ายเหล่านี้ หากจ่ายไปเป็นเงินสด และผู้รับไม่มีการออกใบเสร็จให้ มันก็จะไม่มีหลักฐานใดๆ ว่ารายจ่ายพวกนี้จ่ายไปที่ใคร และจะไม่สามารถนำมาหักภาษีได้ครับ

4. รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

            รายจ่ายแบบที่สี่ ที่บริษัทอาจนับเป็นรายจ่ายของบริษัท แต่สรรพากรไม่นับ คือรายจ่ายที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ มันจะมีเงินส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายไปเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือต้องเก็บไว้เพื่อนำจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากร เช่นบริษัทขายของได้ 100 บาท บริษัทก็ได้จริงๆ 93 บาท อีก 7 บาทต้องเก็บไว้นำจ่ายเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพากร ประเด็นคือ 7 บาทที่ว่านี้ ไม่สามารถเอามาคิดเป็น “รายจ่าย” ของบริษัทตอนเสียภาษีเงินได้นะครับ

5. รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก

            รายจ่ายแบบที่ห้าที่ห้ามนำไปหักเวลาคำนวณภาษี คือ รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก บริษัทจำนวนมากมีการซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทในเครือข่ายที่เป็นบริษัทแม่หรือบริษัทลูก ซึ่งในทางบัญชีปกติ บริษัทก็จะลงเป็นค่าใช้จ่ายกัน แต่ในทางภาษี ตามกฎหมายไทย บริษัทไม่ว่าจะแม่หรือลูกถือเป็นบริษัทเดียวกันในทางภาษี ดังนั้นการซื้อสินค้าและบริการกันเอง จึงเป็นเรื่องของการไหลเวียนของเงินในบริษัท ซึ่งนับเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้

6. รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง

            รายจ่ายแบบที่หกที่ห้ามนำมาหักตอนเสียภาษาโดยเด็ดขาดก็คือ รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง บริษัทจำนวนมากมีทรัพย์สินในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในทางบัญชีทั่วๆ ไปก็จะต้องมีการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ตลอด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของสินทรัพย์ของบริษัทซึ่งมากขึ้นหรือลดลง ซึ่งกรณีที่มันลดลง ในทางบัญชีปกติก็อาจถือเป็นรายจ่ายในงบการเงินได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์บริษัทลดลง แต่ในทางภาษี เนื่องจากยังไม่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้น และการประเมินมูลค่าก็ไม่มีหลักทางภาษีที่แน่นอนตายตัวในรายละเอียด ทางสรรพากรจึงห้ามเอาการที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทถืออยู่ซึ่งลดลงไปมาคิดเป็นรายจ่ายเด็ดขาด

7. รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป

            รายจ่ายแบบที่เจ็ดที่ห้ามนำมาหักออกจากรายได้ในทางภาษีก็คือ รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป อันนี้เป็นในกรณีที่บริษัทสร้างรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ตัวเองถืออยู่ เช่น การขุดแร่หรือตัดไม้มาขาย แน่นอนว่าจากมุมของบริษัท เมื่อเอาทรัพยากรมาใช้แบบนี้ ทรัพยากรย่อมลดลง และในทางบัญชีโดยทั่วไปก็ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องคำนวณกันไป แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ สิ่งเหล่านี้ ในทางภาษีไม่สามารถนำมานับเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะมันไม่มีเกณฑ์ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไป และถ้าเปิดโอกาสให้เอาส่วนนี้มาเป็นรายจ่าย บริษัทก็มีแนวโน้มจะประเมินมูลค่าทรัพยากรที่เสียไปเกินจริง

8. รายจ่ายค่าปรับ

            รายจ่ายแบบสุดท้ายที่ห้ามเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีแน่ๆ ที่เราจะพูดถึงในที่นี้คือรายจ่ายค่าปรับครับ ค่าปรับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอกับบริษัทไม่ว่าบริษัทจะทำผิดกฎหมายระดับเล็กน้อยหรือมาก และเมื่อต้องเสียค่าปรับ ก็แน่นอนว่ามันเป็นเงินของบริษัทที่ต้องจ่ายออกไป และในทางบัญชีทั่วไปก็ต้องคิดเป็นรายจ่าย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบริษัทจะเสียไปตรงนี้จริง ในทางภาษีเราไม่สามารถเอาพวกค่าปรับต่างๆ มาคำนวณในส่วนของรายจ่ายได้ เพราะจากมุมของสรรพากร รายจ่ายตรงนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจ แต่มันเกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายและได้รับการลงโทษโดยรัฐ มันจึงเอามาคำนวณเป็น “รายจ่าย” ในทางภาษีของบริษัทไม่ได้

            ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักกว้างๆ ว่าในทางภาษี เราไม่สามารถเอารายจ่ายแบบใดมาคิดคำนวณเพื่อหาผลกำไรของบริษัทได้ อย่างไรก็ดี จริงๆ “รายจ่ายต้องห้าม” ก็ยังมีรายละเอียดไปจนถึงข้อยกเว้นอีกมาก ซึ่งเราสามารถเข้าไปอ่านได้ที่เว็บของกรรมสรรพากรเลย


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา :  
LINK

 429
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
เวลาพูดถึงงบการเงิน หลายๆ คนอาจเข้าใจว่ามันมีรายการเดียวคือ “งบดุล” แต่งบดุลเป็นแค่ส่วนหนึ่งของงบการเงินมาตรฐานของธุรกิจในปัจจุบันเท่านั้น และเอาจริงๆ งบการเงินมีส่วนประกอบใหญ่ๆ ถึง 5 ส่วนด้วยกัน ว่าแต่ ในแต่ละส่วนมันบอกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจบ้าง? ลองไปดูกันครับ
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
“ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?”

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์