sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ย้อนกลับ
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
1. การรับรู้รายได้
เมื่อโควิดทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจก็ย่อมต้องปรับตัว การรับรู้รายได้เองอาจจะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง
ยกตัวอย่างเช่น
ธุรกิจฟิตเนส ที่รับค่าสมาชิกล่วงหน้าไว้ แล้วปิดฟิตเนส ขยายอายุการใช้งานให้สมาชิก
ธุรกิจโรงเรียน ต้องคืนเงินให้นักเรียน เพราะเปิดสอนไม่ได้ หรือพ่อแม่ไม่มั่นใจที่จะให้ลูกๆ ไปโรงเรียน
การจัด Promotion ลด แลก แจก แถม เพื่อดึงดูดลูกค้า
การเปลี่ยนสัญญาบริการหรือเงื่อนไขการชำระเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกค้า
จากตัวอย่างข้างต้นนักบัญชีเองก็ต้องปรับการรับรู้รายได้ให้เข้ากับเงื่อนไขธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีเช่นกัน
2. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
นอกจากจะขายของไม่ออก เคราะห์ซ้ำกรรมซัดอาจทำให้ธุรกิจมีลูกหนี้ค้างนานเก็บเงินไม่ได้เสียทีอีกด้วย ซึ่งผลกระทบตรงนี้นักบัญชีต้องพิจารณาเรื่องการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เพื่อให้ลูกหนี้แสดงมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเช็คแล้วว่าลูกหนี้ที่มีอยู่ค้างนาน มีโอกาสได้รับชำระเงินริบหรี่ นักบัญชีต้องตั้งบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ ตามหลักการที่มาตรฐานการบัญชียอมรับ สำหรับมาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for NPAEs กล่าวไว้ว่า
วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญสามารถทําได้ 3 วิธี ได้แก่
1.วิธีอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ
2.วิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระจำแนกตามอายุลูกหนี้
3.วิธีพิจารณาลูกหนี้แต่ละราย
กิจการต้องรับรู้หนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกําไรขาดทุน ควบคู่กับการรับรู้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่าบัญชีลูกหนี้ ในงบแสดงฐานะการเงิน
3. ตั้งค่าเผื่อสินค้าลดมูลค่า
สินค้าที่ขายไม่ออก ไม่ว่าจะเกิดจากการขนส่งที่ถูกปิด หน้าร้านที่ถูกปิด หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่องบการเงิน เพราะตามมาตรฐานการบัญชีแล้ว ธุรกิจจะต้องแสดงมูลค่าสินค้าคงเหลือในงบการเงิน ณ ราคาทุนหรือราคาสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่อะไรจะต่ำกว่า สินค้าที่ขายไม่ได้ อาจทำให้ราคาขายตก หรือชำรุด เสื่อมสภาพ ฉะนั้นนักบัญชีเองก็จะต้องเปรียบเทียบระหว่าง ราคาทุนของสินค้า ราคาสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ มูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือเนื่องจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายโดยแสดงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขายในงวดทันที
4. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
เมื่อธุรกิจต้องปรับตัว อาจจะทำให้แพลนการใช้ประโยชน์สินทรัพย์อย่างพวก เครื่องจักร อุปกรณ์เปลี่ยนไป บางทีอาจหยุดการใช้งาน หรือต้องพิจารณาอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีผลต่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยตรง และที่สำคัญเครื่องมือเครื่องไม้ที่มีอยู่อาจด้อยมูลค่า ถ้าไม่สามารถสร้างประโยชน์หรือสร้างกระแสเงินสดในอนาคต นี่เป็นเรื่องสำคัญที่นักบัญชีจะต้องวิเคราะห์และปรับปรุงรายการตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
5. สัญญากู้ยืมเงิน
บางบริษัทอาจมีปัญหาเรื่องของสภาพคล่อง จนไม่สามารถรักษาอัตราส่วนทางการเงินตามที่ธนาคารต้องการได้ เช่น debt to equity ratio มีมากกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งนักบัญชีจะต้องแจ้งเจ้าของกิจการให้ทราบถึงเรื่องนี้ และเจรจากับธนาคารเพื่อขอความช่วยเหลือ ในบางครั้งอาจจะมีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งก็มีผลต่อการรับรู้รายการหนี้สินและจัดประเภทหนี้สินเช่นกัน
6. สมมติฐานการดำเนินงานต่อเนื่อง
โดยปกติแล้วนักบัญชีจะปิดงบการเงินตามหลักการที่ว่ากิจการจะอยู่ไปอีกหนึ่งปีข้างหน้า กรณีที่เจ้าของธุรกิจขาดทุนหนักๆ และมีขาดทุนสะสม หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว อาจเกิดปัญหาที่ว่างบการเงินตามสมมติฐานว่ากิจการจะมีการดำเนินงานต่อเนื่อง (going concern) อาจใช้ไม่ได้แล้ว เพราะมีความไม่แน่นอนจาก covid-19 ฉะนั้นการประเมินมูลค่าในงบการเงิน ณ วันสิ้นปีอาจจะใช้วิธีการที่เปลี่ยนไป ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญและมีผลกระทบต่องบการเงินทั้งงบเลยล่ะค่ะ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!
Source (ต้นฉบับจาก):
https://www.thaicpdathome.com/article/closing-book-what-to-avoid
Copyright by ThaiCpdatHome.com
507
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งจากผู้ประกอบการ และนักบัญชีเองนั้นมีมากมายหลากหลายคำถาม ในบทความนี้ เราได้สำรวจและรวบรวม 5 คำถามยอดฮิต พร้อมคำตอบมาให้เพื่อนๆ กันค่ะ คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ว่านั้น จะมีเรื่องอะไรบ้างลองไปดูกันค่ะ
5 ส่วนสำคัญของงบการเงินที่เจ้าของธุรกิจต้องใส่ใจ
5 ส่วนสำคัญของงบการเงินที่เจ้าของธุรกิจต้องใส่ใจ
เวลาพูดถึงงบการเงิน หลายๆ คนอาจเข้าใจว่ามันมีรายการเดียวคือ “งบดุล” แต่งบดุลเป็นแค่ส่วนหนึ่งของงบการเงินมาตรฐานของธุรกิจในปัจจุบันเท่านั้น และเอาจริงๆ งบการเงินมีส่วนประกอบใหญ่ๆ ถึง 5 ส่วนด้วยกัน ว่าแต่ ในแต่ละส่วนมันบอกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจบ้าง? ลองไปดูกันครับ
หนังสือบริคณห์สนธิ คืออะไร
หนังสือบริคณห์สนธิ คืออะไร
ปัจจุบันนี้ผู้คนจำนวนมากเลือกหันหลังให้กับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ออฟฟิศแล้วเปลี่ยนมาทำธุรกิจจดทะเบียนบริษัทเป็นของตัวเองเพราะต้องการเป็นนายตัวเองและอยากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงจะเห็นว่าเจ้าของธุรกิจหลายคนไม่ได้เป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจตั้งแต่แรก แต่หันมาเริ่มต้นตั้งใจและให้ความสนใจพร้อมกับมุ่งมั่นในการหาความรู้เพื่อสร้างธุรกิจของตนเองจนเรียกได้ว่าวันนี้มีธุรกิจ Start up มากมายที่มีแนวโน้มจะก้าวทันรายใหญ่ อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งไม่เพียงอาศัยความรู้หรือวางแผนบริหารจัดการองค์กร วางแผนการโฆษณาหรือสร้างแบรนด์เพื่อแจ้งเกิดให้กับบริษัทหรือเพื่อเพิ่มรายได้ผลกำไรเท่านั้น ยังมีเรื่องสำคัญอย่างการจดทะเบียนธุรกิจและอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เพราะนับว่าเป็นผลต่อการทำธุรกิจในระยะยาว กล่าวคือต้องรู้เพื่อไม่ให้พลาดและเป็นการทำตามกฎหมายที่ได้กำหนดนั่นคือการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ เอกสารสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบริษัทหรือธุรกิจนั้น ๆ ทั้งนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับคู่ค้าหรือสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกระดับ มาดูกันว่า“หนังสือบริคณห์สนธิ”คืออะไรมาทำความเข้าใจง่าย ๆ ในบทความนี้กันได้เลย
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี หลักๆต้องขอ 3 กลุ่มดังนี้
เช็กก่อน “ยื่นภาษี” ผิด สินค้าไหนไม่ต้องนำมารวมคำนวณฐาน “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”
เช็กก่อน “ยื่นภาษี” ผิด สินค้าไหนไม่ต้องนำมารวมคำนวณฐาน “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
ย้ายสถานที่ประกอบการ ใบกำกับภาษีเดิมใช้ได้หรือไม่
ย้ายสถานที่ประกอบการ ใบกำกับภาษีเดิมใช้ได้หรือไม่
กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com