ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม

ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม


มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายใน

1.สินค้าและวัตถุดิบ

• ควรจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เหมาะสม แบ่งประเภทหรือจัดหมวดหมู่ของสินค้า ออกเป็นแต่ละประเภทของชนิดของสินค้านั้น ๆ

• ควรมีการตรวจนับเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่าสินค้าคงเหลือมีอยู่จริง และจำนวนถูกต้อง อีกทั้งสินค้าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

• ควรใช้โปรแกรมเชื่อมโยงกับระบบบัญชี ทำให้เห็นภาพรวมของระบบและการเคลื่อนไหวของรายการ

2.เงินเดือนและค่าแรง

• ควรจ่ายโดยการโอนอัตโนมัติผ่านระบบธนาคาร ต้องตรวจสอบชื่อและเลขที่บัญชีของพนักงานแต่ละคนให้ถูกต้องตรงกัน ข้อมูลพนักงานตรงกับระบบประกันสังคม

3.การเลือกใช้โปรแกรมบัญชี

• สามารถเชื่อมโยงกับระบบงานอื่น เช่น ควบคุมสินค้า ระบบซื้อขาย ระบบทรัพย์สิน ระบบเงินเดือน เพื่อแสดงข้อมูบที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน

4.เงินกู้ยืมจากกรรมการ

• มีหลักฐานสัญญาเงินกู้ รายละเอียดต่าง ๆ พร้อมกับหลักฐานของเส้นทางการเงินที่สามารถตรวจสอบได้

5.การจัดทำบัญชีรับจ่าย

• การรับชำระค่าสินค้าตรงกับข้อมูลจากธนาคาร การรับจ่ายเงินตรงชื่อบัญชีธนาคารและเอกสารการค้าตรงกัน

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายนอก

1. ข้อมูลธุรกิจการซื้อขายของธุรกิจจากผู้ผลิต จนถึงผู้จำหน่าย สามารถยันตรงกันได้

2. ข้อมูลจากหน่วยราชการอื่นๆ เช่น การนำเข้าสินค้า ข้อมูลการซื้อขายทรัพย์สิน ข้อมูลพนักงานตรงกัน

3. ข้อมูลธุรกรรมภาษีหัก ณ ที่จ่ายในระบบตรงกับรายได้ที่ยื่น

4. ข้อมูลการรับจ่ายเงินจากสถาบันการเงินตรงกัน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล RISK BASED AUDIT

1.  รวบรวมข้อมูลธุรกิจประเมิน ความเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลภายนอกและภายใน

2. ประเมินธุรกิจจากความเสี่ยงและอัตราส่วนทางการเงิน

ผลจากการมีระบบการเงินบัญชีที่ดี

1. มีโอกาสได้คืนภาษีเร็ว เนื่องจากมีระบบบัญชีที่ดี

2. โอกาสถูกตรวจสอบน้อย

3. ลดข้อผิดพลาด ลดการทุจริตในองค์กร

หากไม่มีระบบบัญชีที่ดี

1. ได้รับคืนภาษีช้าเนื่องจากอาจถูกตรวจสอบ

2. มีโอกาสถูกตรวจสอบเพิ่มขึ้น

3. เจ้าหน้าที่ ติดตามอย่างใกล้ชิด

4. ถ้าถูกประเมินภาษีย้อนหลัง มีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสูง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 663
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง
สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์