พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ !! กฎหมาย E-Payment รู้ไว้ ป้องกันได้ รับมือง่าย

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ !! กฎหมาย E-Payment รู้ไว้ ป้องกันได้ รับมือง่าย


ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หันมาซื้อ-ขายออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย หันมาทำธุรกิจออนไลน์ หรือขายของออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น

กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์

โดยมีเงื่อนไขของกฎหมาย E-payment มีดังนี้

1. รับหรือฝากเงินเกินกว่า 400 ครั้ง และ มีจำนวนรวมเกิน 2 ล้านบาทต่อปี (เฉพาะขารับเท่านั้น)

2. รับหรือฝากเกินกว่า 3,000 ครั้ง

ส่งข้อมูลธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะภายในมีนาคมของปีถัดไป (เฉพาะขารับเท่านั้น)

*หากเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ธนาคารจะนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรทำการตรวจสอบค่ะ


กรมสรรพากรจะได้รับข้อมูลอะไรบ้างเมื่อธนาคารหรือตัวแทนส่งข้อมูลไป

• เลขบัตรประจำตัวประชาชน

• ชื่อ-สกุล

• เลขบัญชีเงินฝาก

• จำนวนครั้งของการฝาก/รับโอนเงิน

• ยอดรวมของการฝาก/รับโอนเงิน

เมื่อเข้าเกณฑ์แล้วจะถูกตรวจสอบทุกรายหรือไม่

•กรมสรรพากรจะไม่เรียกตรวจทุกราย เพราะกรมสรรพากรจะมีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มผู้เสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง

เจ้าของธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างไร

1.จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย อย่างถูกต้อง

2.เก็บหลักฐานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

3.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอย่างครบถ้วนและตรงเวลาที่กฎหมายกำหนด

เพียงเท่านี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกท่านก็หมดห่วงเรื่องปัญหา กฎหมาย E-payment แล้วนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 487
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
แผนกจัดซื้อเป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้อง
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์