ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม

ความเสี่ยงในระบบบัญชี ภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่านไม่ควรมองข้าม


มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายใน

1.สินค้าและวัตถุดิบ

• ควรจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เหมาะสม แบ่งประเภทหรือจัดหมวดหมู่ของสินค้า ออกเป็นแต่ละประเภทของชนิดของสินค้านั้น ๆ

• ควรมีการตรวจนับเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่าสินค้าคงเหลือมีอยู่จริง และจำนวนถูกต้อง อีกทั้งสินค้าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

• ควรใช้โปรแกรมเชื่อมโยงกับระบบบัญชี ทำให้เห็นภาพรวมของระบบและการเคลื่อนไหวของรายการ

2.เงินเดือนและค่าแรง

• ควรจ่ายโดยการโอนอัตโนมัติผ่านระบบธนาคาร ต้องตรวจสอบชื่อและเลขที่บัญชีของพนักงานแต่ละคนให้ถูกต้องตรงกัน ข้อมูลพนักงานตรงกับระบบประกันสังคม

3.การเลือกใช้โปรแกรมบัญชี

• สามารถเชื่อมโยงกับระบบงานอื่น เช่น ควบคุมสินค้า ระบบซื้อขาย ระบบทรัพย์สิน ระบบเงินเดือน เพื่อแสดงข้อมูบที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน

4.เงินกู้ยืมจากกรรมการ

• มีหลักฐานสัญญาเงินกู้ รายละเอียดต่าง ๆ พร้อมกับหลักฐานของเส้นทางการเงินที่สามารถตรวจสอบได้

5.การจัดทำบัญชีรับจ่าย

• การรับชำระค่าสินค้าตรงกับข้อมูลจากธนาคาร การรับจ่ายเงินตรงชื่อบัญชีธนาคารและเอกสารการค้าตรงกัน

ประเด็นเสี่ยงข้อมูลภายนอก

1. ข้อมูลธุรกิจการซื้อขายของธุรกิจจากผู้ผลิต จนถึงผู้จำหน่าย สามารถยันตรงกันได้

2. ข้อมูลจากหน่วยราชการอื่นๆ เช่น การนำเข้าสินค้า ข้อมูลการซื้อขายทรัพย์สิน ข้อมูลพนักงานตรงกัน

3. ข้อมูลธุรกรรมภาษีหัก ณ ที่จ่ายในระบบตรงกับรายได้ที่ยื่น

4. ข้อมูลการรับจ่ายเงินจากสถาบันการเงินตรงกัน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล RISK BASED AUDIT

1.  รวบรวมข้อมูลธุรกิจประเมิน ความเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลภายนอกและภายใน

2. ประเมินธุรกิจจากความเสี่ยงและอัตราส่วนทางการเงิน

ผลจากการมีระบบการเงินบัญชีที่ดี

1. มีโอกาสได้คืนภาษีเร็ว เนื่องจากมีระบบบัญชีที่ดี

2. โอกาสถูกตรวจสอบน้อย

3. ลดข้อผิดพลาด ลดการทุจริตในองค์กร

หากไม่มีระบบบัญชีที่ดี

1. ได้รับคืนภาษีช้าเนื่องจากอาจถูกตรวจสอบ

2. มีโอกาสถูกตรวจสอบเพิ่มขึ้น

3. เจ้าหน้าที่ ติดตามอย่างใกล้ชิด

4. ถ้าถูกประเมินภาษีย้อนหลัง มีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสูง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 583
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการกำหนดแนวปฏิบัติทางการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทยได้ร่วมกันเผยแพร่ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดย่อมโดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีขนาดเล็กมาก หรือ ธุรกิจขนาดจิ๋ว
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 
มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์