เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?

เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?



ความแตกต่างระหว่าง.. เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ และ เงินจอง

เงินที่กิจการ ‘รับมาล่วงหน้า‘ จากการขายสินค้า หรือให้บริการ

       การประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในบางกิจการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้ามักจะมีการเรียกเก็บเงินบางส่วนจากค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า ซึ่งเงินบางส่วนที่เรียกเก็บนั้นมักจะมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ‘เพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อสินค้าหรือบริการในภายหลัง’

เงินล่วงหน้า (Advanced Payment)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการได้จ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ มักจะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งอาจะมีการเรียกเก็บในอัตรา 5-15 % ของมูลค่าตามสัญญาหรือข้อตกลง อันเป็นเงื่อนไขว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่กัน

เงินประกัน (Bail)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการให้ไว้เป็นการรับประกันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือสัญญา หากผิดเงื่อนไขหรือสัญญาจะมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสัญญา โดยวิธีการริบเงินประกันหรือเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาหรือข้อตกลง

เงินมัดจำ (Deposit)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ให้ไว้ ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ อันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหลักประกันว่าจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลง และอาจถือเป็นส่วนหนึ่งในการชำระค่าสินค้าหรือให้บริการ

เงินจอง (Reserve money)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้ก่อนที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงในภายหลัง อันเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าจะมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่ง ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะมีการชำระเงินมัดจำค่าสินค้า หรือค่าบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินจอง อย่างไรก็ดีหากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่มาทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะถูกริบ หรือยึดเงินจองดังกล่าวได้


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 

แหล่งที่มา : Link

 1171
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัวเลขหรือรหัสที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ผังบัญชีขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการและควบคุมทางบัญชี โดยรหัสบัญชีนี้จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกว่า ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger) เพื่อให้การบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเป็นระเบียบช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
ใบเสนอราคา หรือ quotation คือเอกสารสำคัญสำหรับนักขาย และเจ้าเอกสารตัวนี้เองก็น่าจะเป็นอะไรที่นักขายทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การปิดดีลการขายเลยก็คงไม่เกินจริงไปนัก อย่างไรก็ตามนักขายจำนวนมากแม้จะรู้ว่าเจ้าใบเสนอราคานั้นหน้าตาเป็นอย่างไร แต่เมื่อต้องทำเองหลายต่อหลายครั้งหากบริษัทไม่ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ นักขายเองก็มักจะออกใบเสนอราคาโดยไม่มี standard ที่ตายตัว นอกจากนี้ตัวนักขายเองก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจกับเจ้าใบนี้เท่าที่ควรด้วย
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์