ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?

ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?


หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

ผู้สอบบัญชีคือใคร?

ผู้สอบบัญชี คือ บุคลภายนอกที่มีใบอนุญาตและเป็นอิสระจากกิจการ มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองว่างบการเงินของกิจการแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร  โดยการที่จะได้รับใบอนุญาตผู้สอบบัญชี  บุคคลนั้นจะต้องผ่านการทดสอบและจะต้องมีชั่วโมงฝึกงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือกรมสรรพากรกำหนด นอกจากนี้ผู้สอบบัญชียังช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับจุดอ่อนการควบคุมภายในของกิจการที่พบระหว่างการตรวจสอบให้แก่ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการได้อีกด้วย

ผู้สอบบัญชี มีกี่ประเภท?

ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีมี 2 ประเภท ได้แก่

  1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA : Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
  2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax Audittor) คือ ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
ประภทผู้สอบบัญชี สิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชี
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

ดังนั้นกิจการจะต้องคำนึงถึง "ประเภทและขนาด" ของกิจการในการเลือกผู้สอบบัญชี

โดยหากเป็น "บริษัทจำกัด" งบการเงินจะต้องถูกรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น

หน้าที่ของผู้สอบบัญชี คืออะไร?

ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ดังนี้

  1. ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยปฏิบัติงานตามแนวทางที่สภาวิชาชีพบัญชี หรือ กรมสรรพากร กำหนด
  2. จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อรายงานผลการตรวจสอบ

บริษัทจำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีหรือไม่?

จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลเหล่านี้ ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินของตนก่อนจะนำส่งหรือใช้ยื่นเสียภาษีประจำปี

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่าง ประเทศประกอบธุรกิจในไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • มูลนิธิ สมาคม
  • นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร

รู้หรือไม่? - การไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี นิติบุคคลและผู้แทนต้อง ระวังโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท!! 

นอกจาก นี้การไม่นำส่งงบการเงิน หรือไม่ยื่นเสียภาษี ก็จะมีโทษ ปรับอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิเช่น

  • ไม่ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และวันละไม่เกิน 1,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • ไม่จัดทำ/ไม่ยื่นงบการเงิน: ระวังโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : Link

 5683
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ
บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์