เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร

เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร


อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่า #เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
 
ที่เป็นเช่นนี้ เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ   

1. ไม่ทราบว่าต้องเสียภาษีประเภทไหน เพราะเปิดเป็นร้านขายของธรรมดาปกติ จึงไม่ทราบว่ารายได้ที่มีเข้าเกณพ์เสียภาษีหรือไม่
2. ไม่ได้ติดตามข่าวสารภาษี ทุกทีที่เสียภาษีก็ประเมินคร่าว ๆ
 
หากปล่อยให้ไม่มีความเข้าใจในเรื่องการรับรู้รายได้ของกรมสรรพากร เช่นนี้ต่อไป จะทำให้กิจการหรือร้านค้าของคุณไม่ได้ยื่นภาษีตามที่สรรพากกำหนด เพราะคิดว่ากิจการขายของธรรมดา รายได้ไม่น่าถึงยอดที่สรรพกรกำหนด สุดท้ายละเลยหน้าที่ผู้เสียภาษีที่ดี รู้ตัวอีกที ก็มีหนังสือเชิญเข้าพบ จุดจบคือถูกประเมินภาษีโดยเจ้าหน้าที่ ค่าใช้จ่ายตามมาที่มีอาจเป็นค่าปรับ พร้อมกับเงินเพิ่ม คุณคงต้องรู้สึกไม่สบายใจ ที่ต้องไปพบกับเจ้าหน้าที่ เพราะคำตอบที่มีอาจไม่ชัดเจน ใช่มั้ยคะ
 
เราคนไทยทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าผู้ใดมีเงินได้ผู้นั้นเป็นผู้หน้าที่เสียภาษีเงินได้ แต่เชื่อว่าหลายท่านยังไม่รู้เลยว่า เราจะต้องเสียภาษีจากยอดอะไร และเจ้าหน้าที่สรรพากรนั้นจะรับรู้รายได้ของเราได้อย่างไร
 
ต่อไปนี้คือ 5 ช่องทางที่เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามี ตามไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

1. มีหน้าร้าน แน่นอนอยู่แล้วเมื่อเรามีหน้าร้าน ทางเจ้าหน้าที่สรรพากรก็สามารถเข้ามา เพื่อนับจำนวนการขายต่อวัน และประมาณการรายได้ของเราที่หน้าร้านได้เลยค่ะ อย่างเช่นร้านขายวัสดุก่อสร้าง ร้านค้าส่ง หรือ ซูเปอร์มาร์เก็ต
2. ประเมินรายได้จากการที่กิจการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราให้บริการกับลูกค้า แล้วถูกลูกค้าที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ แล้วนำส่งให้สรรพากร ทางสรรพากรก็จะรับรู้รายได้ก้อนนั้นทันทีที่ถูกนำส่งค่ะ กรณีนี้จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ให้บริการกับลูกค้าที่เป็นบริษัทแล้วถูกหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้ง แต่ผู้ประกอบการรายนี้ไม่มีความรู้เรื่องภาษี จึงไม่เคยยื่นแบบเสียภาษี สุดท้ายถูกประเมินภาษีย้อนหลัง และเข้าข่ายต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วยค่ะ

3. ธุรกิจออนไลน์ ที่มีการ Live สด กรณีนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรสามารถเข้าดู Live สด และนับยอดการ Live ได้ค่ะ

4. กฏหมาย #ภาษีอีเพย์เมนต์ พ.ศ. 2562 หรือกฏหมายเงินเข้าบัญชีธนาคาร
ซึ่งมี 2 เงื่อนไข ดังนี้ค่ะ
  4.1 เงื่อนไขที่ 1 เงินเข้าทุกบัญชี 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
  4.2 เงื่อนไขที่ 2 เงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี ขึ้นไป (ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาท)
 5. ขายของ Shoopee, Lazada กรณีนี้จะมีแจ้งยอดที่ขายได้อยู่ในระบบ พร้อมราคาสินค้าแต่ละชนิด ทำให้เจ้าหน้าที่สรรพากร สามารถประมาณรายได้ของร้านค้าหรือกิจการได้ค่ะ
 
และเมื่อคุณทราบแล้วว่า เจ้าหน้าที่สรรพากรรับรู้รายได้ของเราจากช่องทางไหน คุณเองก็จะประมาณรายได้ของตัวเองที่ต้องเสียภาษีได้ เพื่อจะได้วางแผนการเงิน และในเรื่องการยื่นชำระภาษีต่อไปค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : Link

 772
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
ในอดีตที่ผ่านมาความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังมีไม่มาก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมายและเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์การต่าง ๆ
วันนี้เราจะมาดูกันว่าเจ้าของจะสามารถนำเงินออกจากบริษัทได้โดยทางใดบ้าง และแต่ละทางมีข้อดี-ข้อเสียทางภาษีที่แตกต่างกันอย่างไร
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์