ยื่นภาษีออนไลน์ คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ยื่นภาษีออนไลน์ คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง


การยื่นภาษีถือว่าเป็น “หน้าที่” ของทุกคนที่มีรายได้

เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"

โดยในปัจจุบันมีการเปิดช่องทางให้ยื่นภาษีออนไลน์

เป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเข้าถึงการยื่นภาษีได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น และยังลดขั้นตอนการยื่นภาษีจากอดีต ทำให้การยื่นภาษีเป็นไปโดยง่าย รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น  

ภาษีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

การยื่นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

    -ภ.ง.ด.94 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)-(8) ต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของงวดเดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน ภายในเดือนกันยายนปีเดียวกัน (เป็นการเสียภาษีครึ่งปี สำหรับคนไม่มีเงินเดือน แต่มีรายได้ อย่างอื่นมาแทนเช่น ปันผลจากกองทุนและหุ้น ขายที่ดินได้)

    -ภ.ง.ด.91 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภท “เงินเดือน” อย่างเดียวให้ยื่่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของทั้งปี (ครั้งเดียว) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

    -ภ.ง.ด.90 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่มิใช่เงินเดือน หรือมีเงินได้ 2 ประเภท ขึ้นไป (หรือสำหรับคนมีเงินเดือนและมีรายได้อื่นด้วย เช่น ปันผลจากกองทุนและหุ้น ขายที่ดินได้ หรือจากมรดก เป็นต้น)

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

    1. สามารถยื่นภาษีออนไลน์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ https://www.rd.go.th/ และเลือก ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต

    2. เลือก ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 โดยเลือกภาษีเงินได้จากประเภทเงินได้ที่เราได้รับจากประเภทการยื่นภาษีที่กล่าวมาข้างต้น

    3. ขั้นตอนสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตและผู้ที่เคยยื่นมาก่อนแล้ว จะมีช่องแบบฟอร์มให้กรอกสำหรับการลงทะเบียนก่อนในเบื้องต้น แต่หากเป็นผู้ที่เคยยื่นภาษีออนไลน์มาแล้ว สามารถเข้าไปที่รายละเอียดการ “ยื่นภาษี” ได้เลย

    4. ให้เราใส่หมายเลขและรหัสผ่านที่ได้รับ จากนั้นให้กรอกรายละเอียดให้ครบทุกช่องทางตามที่ขึ้นโชว์หน้าเว็บไซต์ หากกรอกไม่ครบถ้วนจะไม่สามารถบันทึกรายการได้ จะต้องย้อนกลับไปกรอกใหม่ให้ครบถ้วน

    5. บันทึกเงินได้ บันทึกลดหย่อน จากนั้นให้กดคำนวณภาษี ซึ่งระบบจะทำการคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ จากนั้นให้ยืนยันการยื่นแบบ

สำหรับผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินและขอคืนภาษี สามารถสมัครบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีธนาคารไว้กับบัตรประชาชน จะได้รับเงินคืนจากการขอคืนภาษีที่เร็วกว่าการจ่ายคืนเป็นเช็ค โดยกรมสรรพากรจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกด้วยพร้อมเพย์ได้ง่าย ทำให้เราได้รับเงินคืนภาษีที่เร็วและสะดวกขึ้น 


ที่มา : Link

 658
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าเบี้ยประกันสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อน สำหรับยื่นแบบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แต่ไม่ใช่ว่าเบี้ยประกันจากกรมธรรม์ทุกประเภทจะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เสมอไป จะต้องเป็นกรมธรรม์ตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้เสียที่ต้องการใช้สิทธิในส่วนนี้ ต้องทำความเข้าใจถึงค่าเบื้ยประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยแยกตามประเภทของเบี้ยประกันดังนี้
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่กรมสรรพากรออกมาให้ใช้ กรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์