ส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด

ส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด


ส่วนลด (Discount)
 
หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ

       1.  ส่วนลดการค้า (Trade Discount) ส่วนลดการค้าเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้ผู้ขายพยายามจูงใจลูกค้าเพื่อให้ซื้อสินค้าของตนโดยการให้ส่วนลดทันทีที่ซื้อสินค้าจากราคาที่ตั้งไว้ (Price list)  และสิ่งที่สำคัญของส่วนลดการค้า คือ ไม่มีการบันทึกบัญชีในส่วนที่เป็นส่วนลด จะบันทึกบัญชีซื้อสินค้าตามจำนวนเงินที่หลังหักส่วนลดการค้าแล้ว

      2.  ส่วนลดเงินสด  (Cash Discount) ส่วนลดเงินสด หมายถึง ส่วนลดที่เจ้าหนี้ยอมลดให้แก่ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้นำเงินสดมาชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ วัตถุประสงค์ของการให้ส่วนลดเงินสดเพื่อต้องการจูงใจให้ลูกหนี้นำเงินมาชำระหนี้ให้เร็วขึ้น ส่วนลดเงินสด จะมีความเกี่ยวข้องกับ "เงื่อนไขการชำระเงิน" (Terms of payments) โดยปกติจะระบุไว้ในใบกำกับสินค้า  เช่น

            2/10, N/30            หมายความว่า  ถ้าชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อภายใน 10 วัน จะได้รับส่วนลด 2% ของหนี้ที่ชำระ แต่อย่างไรต้องชำระหนี้ภายใน 30 วัน
            2/EOM, N/60          หมายความว่า ถ้าชำระภายในสิ้นเดือนที่มีการซื้อสินค้านั้น จะได้รับส่วนลด  2% แต่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 60 วัน (EOM ย่อมาจาก End of Month)
            2/10 EOM, N/60     หมายความว่า ถ้าชำระหนี้ไม่เกินวันที่ 10 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการซื้อสินค้า จะได้รับส่วนลด 2% ของหนี้ที่ชำระ แต่จะต้องชำระหนี้ภายใน 60 วัน

            การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับส่วนลดเงินสด  จะต้องบันทึกทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขายดังนี้

            2.1  ส่วนลดรับ (Purchase discount) เกิดขึ้นเมื่อกิจการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่ได้รับส่วนลด  เป็นการบันทึกบัญชีด้านผู้ซื้อ

            2.2  ส่วนลดจ่าย (Sale discount) เกิดจากกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ภายในระยะเวลาที่กิจการกำหนดจะให้ส่วนลดแก่ลูกหนี้  เป็นการบันทึกบัญชีด้านผู้ขาย
 142100
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
การยื่นภาษีมีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อให้แน่ใจว่าการยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนยื่นภาษี
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไรประเด็นปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายค่าสินค้า และมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้า
การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์