PDCA วงจรบริหารในงานบัญชี

PDCA วงจรบริหารในงานบัญชี



P = Plan คือ แผนดำเนินการ กำหนดเป้าหมายแล้ววางแผนกิจกรรม เพื่อให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง


สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน

D = Do คือ ลงมือดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยระหว่างนั้นต้องตรวจสอบด้วยว่าได้ดำเนินการไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วย

กิจกรรมทางธุรกิจที่ได้ลงมือปฏิบัตินั้น ผลลัพธ์ของการดำเนินการจะสรุปออกมาเป็นรายงานการเงินประจำเดือน ซึ่งมิได้มีเพียงงบดุล งบกำไรขาดทุน หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น ตารางคำนวณต้นทุนหรือตารางควบคุมกำไรก็ล้วนแต่เป็นรายงานงานเงินรายเดือนที่สำคัญ

C = Check คือ ทำการวิเคราะห์ โดยประเมินผลลัพธ์จากการตรวจวัด เปรียบเทียบผลลัพธ์ต่อเป้าหมาย มีความชัดเจนในประเด็นที่ต้องปรับปรุง

การตรวจสอบโดยวิเคราะห์ความแตกต่าง เปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์การประกอบการกับงบประมาณ หรือต้นทุนมาตรฐาน ทำให้เข้าใจหัวข้อปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขต่อไปอย่างชัดเจน

A = Action คือ ลงมือแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับมาตรฐานเดิมให้สูงขึ้น

การดำเนินมาตรการตามหัวข้อปัญหาที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขซึ่งมีความชัดเจนแล้ว พร้อมกับเป็นจุดเริ่มต้นที่เชื่อมต่อไปยังวงจร PDCA วงจรใหม่ต่อไป โดยอาจพิจารณาแนวทางแก้ไข ดังนี้

• มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้

• ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม

• ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้

• เปลี่ยนเป้าหมายใหม่

ทั้งนี้วงจร PDCA จะต้องหมุนต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อผลักดันเป้าหมายให้สูงขึ้นต่อๆไป บัญชีทางการบริหารนำวงจรนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อให้วงจรการบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ทความโดย : www.th.jobsdb.com
 1378
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากอดีตถึงปัจจุบันปัญหาที่ทุกองค์กรจะพบคือ ‘การทุจริต’ โดยจะมีบุคคลที่ส่อแววว่าจะทำการทุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นอย่างมาก ปัญหาทุจริตจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบระบบภายใน ระบบการเงินอยู่เสมอ เพื่อป้องกันช่องว่างที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นฉวยโอกาส ฉะนั้นเราลองมาดูแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างยั่งยืนและได้ประสิทธิภาพมากที่สุดกันดีกว่า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
ส่วนลด (Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ
การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
ผู้ทำบัญชี อย่าลืม “5 เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำเพื่อก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎมาย”

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์