sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด
ส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด
ส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด
ย้อนกลับ
ส่วนลด (Discount)
หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้
ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้น
ในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ
1. ส่วนลดการค้า (Trade Discount)
ส่วนลดการค้าเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้
ผู้ขายพยายามจูงใจลูกค้าเพื่อให้ซื้อสินค้าของตนโดยการให้ส่วนลดทันทีที่ซื้อสินค้าจากราคาที่ตั้งไว้ (Price list) และสิ่งที่สำคัญของส่วนลดการค้า คือ ไม่มีการบันทึกบัญชีในส่วนที่เป็นส่วนลด จะบันทึกบัญชีซื้อสินค้าตามจำนวนเงินที่หลังหักส่วนลดการค้าแล้ว
2. ส่วนลดเงินสด (Cash Discount)
ส่วนลดเงินสด หมายถึง ส่วนลดที่เจ้าหนี้ยอมลดให้แก่ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้นำเงินสดมาชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ วัตถุประสงค์ของการให้ส่วนลดเงินสดเพื่อต้องการจูงใจให้ลูกหนี้นำเงินมาชำระหนี้ให้เร็วขึ้น
ส่วนลดเงินสด จะมีความเกี่ยวข้องกับ "เงื่อนไขการชำระเงิน" (Terms of payments) โดยปกติจะระบุไว้ใน
ใบกำกับสินค้า เช่น
2/10, N/30 หมายความว่า ถ้าชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อภายใน 10 วัน
จะได้รับส่วนลด 2% ของหนี้ที่ชำระ แต่อย่างไรต้องชำระหนี้ภายใน
30 วัน
2/EOM, N/60 หมายความว่า ถ้าชำระภายในสิ้นเดือนที่มีการซื้อสินค้านั้น จะได้รับ
ส่วนลด 2% แต่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 60 วัน (EOM ย่อมาจาก
End of Month)
2/10 EOM, N/60 หมายความว่า ถ้าชำระหนี้ไม่เกินวันที่ 10 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการ
ซื้อสินค้า จะได้รับส่วนลด 2% ของหนี้ที่ชำระ แต่จะต้องชำระหนี้
ภายใน 60 วัน
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับส่วนลดเงินสด จะต้องบันทึกทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขายดังนี้
2.1 ส่วนลดรับ (Purchase discount) เกิดขึ้นเมื่อกิจการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่ได้รับส่วนลด เป็นการบันทึกบัญชีด้านผู้ซื้อ
2.2 ส่วนลดจ่าย (Sale discount) เกิดจากกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ภายในระยะเวลาที่กิจการกำหนดจะให้ส่วนลดแก่ลูกหนี้ เป็นการบันทึกบัญชีด้านผู้ขาย
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
บ
ทความโดย
: lumyai.krutechnic.com
142053
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
คุณรู้จัก เช็ค ดีพอหรือไม่?
คุณรู้จัก เช็ค ดีพอหรือไม่?
เช็คเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้คุณประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมาก แต่สิ่งนี้จะมีโทษมากกว่าหากผู้ประกอบการขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน
ขายดี กำไรไม่เหลือเลย เพราะอะไร
ขายดี กำไรไม่เหลือเลย เพราะอะไร
ช่วงหลังนี้เราจะเห็นว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเกิดขึ้นมามากมายพร้อมไอเดียที่พรั่งพรู ที่ทำให้เกิดเทรนด์และกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายคนประสบความสำเร็จมากจนทำให้สินค้าและบริการขายดีเทน้ำเทท่า แต่ก็ไม่วายที่อยู่ๆ ธุรกิจที่สร้างขึ้นจะเจ๊งไปต่อหน้าต่อตาได้ มาดูกันว่าสิ่งที่เราต้องรู้ในการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้างก่อนที่เราจะขายดีจนเจ๊ง
เช็คเงื่อนไขค่าเบี้ยประกัน หักลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
เช็คเงื่อนไขค่าเบี้ยประกัน หักลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
ค่าเบี้ยประกันสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อน สำหรับยื่นแบบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แต่ไม่ใช่ว่าเบี้ยประกันจากกรมธรรม์ทุกประเภทจะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เสมอไป จะต้องเป็นกรมธรรม์ตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้เสียที่ต้องการใช้สิทธิในส่วนนี้ ต้องทำความเข้าใจถึงค่าเบื้ยประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยแยกตามประเภทของเบี้ยประกันดังนี้
วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร
วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ เรื่องที่นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจควรรู้
ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ เรื่องที่นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจควรรู้
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
กิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี
กิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com