งวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี

งวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี



คำว่า “งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย

       ซึ่งงวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชีในแต่ละงวดหรือในแต่ละรอบนั้นหมายถึงการที่กิจการจะทำการบันทึกรายการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นภายในงวดเวลาที่กำหนดจากนั้นก็จะสรุปออกมาว่าในแต่ละงวดเวลานั้นกิจการมีผลกำไรหรือขาดทุนอย่างไรและเมื่อถึงวันสิ้นงวดนั้นกิจการมีฐานะการเงินอย่างไรเช่นในงวด 1 เดือนที่ผ่านมากิจการมีผลกำไรหรือขาดทุนเท่าไรและในวันสิ้นงวด 1 เดือนกิจการมีสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของคงเหลืออยู่เท่าไรนั้นเองโดยในการกำหนดงวดบัญชีนี้จะเริ่มต้นวันที่เท่าไรก็ได้และวันสุดท้ายก็คือวันสิ้นสุดงวดบัญชีตามที่กำหนดระยะเวลาเป็น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี

       ปีการเงินหรือ ปีบัญชี (fiscal Year) ในการกำหนดงวดบัญชีเท่ากับ 1 ปีหรือ 12 เดือนเราก็เรียกงวดบัญชีนั้นว่าปีบัญชีหรือปีการเงินซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่เท่าไรก็ได้เช่น 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560 เป็นต้นแต่โดยปกติทั่วไปเพื่อความสะดวกและสอดคล้องต่อการเสียภาษีให้แกรัฐบาลกิจการส่วนใหญ่ก็จะกำหนดปีการเงินหรือปีบัญชีเหมือนกับปีปฎิทินคือ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของทุกปี

ท่านสามารถทำรายการกำหนดงวดปีภาษีบัญชีในโปรแกรมบัญชี WINSpeed ง่ายๆ ดังนี้


ขั้นตอนก่อนการเปิดงวดภาษีใหม่ >> ทำการสำรองข้อมูล (Backup) เพื่อสำรองไว้ก่อนที่จะมีการสร้างปีภาษีใหม่ 

1.สามารถเข้าที่ระบบ Enterprise  Manager  => General Setup => กำหนดงวดบัญชี


2.จากนั้น Click  เพื่อทำการกำหนดงวดบัญชีใหม่  



3.ให้ระบุปีภาษี => Click icon รูป  => โปรแกรมจะแจ้งเตือนว่า “ จะกำหนดงวดบัญชีให้อัติโนมัติ ”



4.Click OK => โปรแกรมจะทำการ Run งวดบัญชีมาให้อัติโนมัติ 12 งวด => ทำการบันทึก Click 

    

5.โปรแกรมจะแสดงข้อความแจ้งให้ทราบว่า “ ได้ทำการบันทึกข้อมูลสำเร็จ ”  => Click OK



6.เมื่อทำการบันทึกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย => จะมีงวดบัญชีแสดงขึ้นมา



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 877
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร
ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้
ข้อมูลทางการบัญชีสื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์