Retention และ Refinance แตกต่างกันอย่างไร

Retention และ Refinance แตกต่างกันอย่างไร


Retention เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่ Refinance เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้หนี้ของเรากับเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมนั้นสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance

Retention มีข้อดีอยู่ที่ความสะดวกสบาย เพราะเป็นการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิม ซึ่งมีเอกสารและข้อมูลอยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารต่าง ๆ มาก โดยเตรียมแค่สัญญาเงินกู้ ทะเบียนบ้านและสำเนา และบัตรประชาชนของผู้กู้และสำเนาเท่านั้น ส่วนระยะเวลาในการพิจารณาก็ไม่นาน เพราะธนาคารมีประวัติการผ่อนชำระอยู่แล้ว

นอกจากนี้ Retention ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า Refinance ด้วย และบางธนาคารก็คิดแค่ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 1% ของวงเงินกู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าประวัติการผ่อนชำระไม่ดี ก็อาจขอ Retention ไม่ผ่านได้ หรือถ้าผ่าน อัตราดอกเบี้ยที่ได้ก็จะน้อยกว่าคนผ่อนที่มีประวัติดี นอกจากนี้ข้อเสียของ Retention คือ ธนาคารเดิมที่อาจลดดอกเบี้ยให้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับ Refinance
หมายเหตุ หากผู้ที่ต้องการ Refinance ติดต่อหลายธนาคาร จนได้ตัวเลขอัตราดอกเบี้ยใหม่แล้ว ธนาคารเดิม (บางแห่ง) อาจมีการสอบถามอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เพื่อปรับให้ Retention มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ Refinance ได้ ซึ่งต้องสอบถามโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ของธนาคาร


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณที่มา :  ddproperty.com
 714
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน “ผังบัญชี” (Chart of Account)
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ ดังนั้นหากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณภาษีซื้อผิดในหลักทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะสามารถนำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีมาใช้ได้อย่างไร
อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์