5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE

5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE


ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศ
สภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา

โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ แม้ว่าจะเป็นมาตรฐาน
การบัญชีสำหรับผู้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (PAE) ก็ตาม แต่ในหลักคิดหรือแนวทางการพิจารณาเงื่อนไขการรับรู้รายได้นั้น นักบัญชีที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAE) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหาสาระส่วนใหญ่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดแนวทางสำหรับการรับรู้รายได้จากเงื่อนไขและกรณีต่างๆ เพื่อให้สามารถระบุจุดหรือภาระงานใดๆ ก็ตามที่มีการกำหนดให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามข้อตกลงที่ทำไว้กับลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงและประกอบกับมาตรฐานชุด NPAE จะเป็นเรื่องของการพิจารณาขยายความให้ชัดเจนขึ้นถึงสถานการณ์หรือเหตุการณ์แวดล้อมที่ทำให้เชื่อได้ว่าสามารถระบุจุดที่สามารถรับรู้รายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีดังกล่าวเป็นการยกเลิกมาตรฐานการบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้หลายฉบับและมีผลกระทบต่อธุรกิจในวงกว้าง ซึ่งแนวทางในการรับรู้รายได้ตามแนวทางใหม่นี้จะมีกรอบขั้นตอนที่กำหนดไว้จำนวน 5 ข้อ ประกอบด้วย

1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า พิจารณาจากประวัติของกิจการและในอุตสาหกรรมว่ามีความจำเป็นต้องมีสัญญาหรือไม่ ซึ่งข้อตกลงมีเป็นจำนวนมากหรือรายละเอียดมีความซับซ้อน ควรกำหนดเป็นสัญญา เพื่อให้สามารถอ้างอิงได้ 

2. การระบุภาระที่ต้องปฏิบัติตตามสัญญา ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ต้องทราบว่ามีข้อตกลงอะไรกับลูกค้าบ้างซึ่งจำเป็นต้องระบุเหตุการณ์หรือกิจกรรมนั้นให้ได้เป็นรูปธรรมชัดเจน  โดยปกติต้องอ้างอิงจากเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ซึ่งควรรวมถึงการลงนามในเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมวันที่ด้วย

3. กำหนดราคาของรายการ ฝ่ายจัดการและฝ่ายขายควรกำหนดให้มีตารางราคาขายหรือเอกสารอื่น เช่น Price List ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีการอนุมัติราคาขายกลางล่วงหน้า ซึ่งควรมีข้อกำหนดของส่วนลดหรือวิธีการให้ส่วนลดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจถึงการพิจารณาราคาขายในรูปแบบการขายหรือให้บริการในรูปแบบต่างๆ  

4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ ในบางกรณี เมื่อมีการต่อรองจากลูกค้าจำเป็นต้องคำนึงถึงการปรับปรุงเพิ่มลดราคาและข้อกำหนดที่อาจมีขึ้นในการเจรจาต่อรองนั้นๆ ซึ่งฝ่ายที่
เกี่ยวข้องต้องอนุมัติเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามนโยบายการขายหรือให้บริการ และจะปิดการขายด้วยการกำหนดว่าจะมีเงื่อนไขที่อาจมีขึ้นอย่างไร  ข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวนี้เป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จซึ่งจะควบคู่ไปกับราคาขายขั้นสุดท้าย

5. การรับรู้รายได้เมื่อกิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ ในข้อนี้ถือเป็นแนวทางที่ทำได้ง่ายที่สุด คือ การสรุปว่าภารกิจที่ปฏิบัติตามภาระนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นหรือไม่ เพียงแต่ต้องแน่ใจให้ได้ว่ามีการรวบรวมหลักฐาน
เพื่อประกอบการรับรู้รายได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : วารสาร : CPD&ACCOUNT ตุลาคม 2562
 656
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร
ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์