ที่ปรึกษาด้านภาษีสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

ที่ปรึกษาด้านภาษีสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ


      เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง

        หากคุณต้องการผู้ช่วยสักคนในองค์กร เพื่อปรับปรุงความมั่นคงทางการเงินคุณควรให้ความสนใจไปที่ที่ปรึกษาด้านบัญชีหรือไม่ก็ที่ปรึกษาด้านภาษี  เพราะการให้คำปรึกษาด้านภาษีช่วยให้ผู้คนตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ การมีที่ปรึกษาด้านบัญชีจะช่วยให้ลูกค้าปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านภาษีและช่วยให้สามารถเก็บเงินไว้ได้มากขึ้น

ที่ปรึกษาด้านภาษี คือใคร?

        ที่ปรึกษาด้านภาษี คือผู้เชี่ยวชาญที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษี และให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเงินด้วยบ้าง ในบางครั้ง ที่ปรึกษาด้านภาษีจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการการยื่นภาษี คืนภาษีและเรื่องการเงินต่าง ๆ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินต่าง ๆ นอกเหนือจากการให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาษีที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า ที่ปรึกษาด้านภาษียังมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านภาษี

        ทั้งผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล อาจจะกังวลว่าตนเองดำเนินธุรกิจแล้วเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ หรือเสียภาษีครบถ้วน หรือถูกต้องหรือไม่ การมีที่ปรึกษาด้านภาษีจะช่วยให้คุณสามารถจัดการภาษีได้ดีมากขึ้น

        ที่ปรึกษาด้านภาษี ไม่ได้ช่วยธุรกิจจัดการภาษีอากรอย่างเดียว แต่ในบางสำนักบัญชีหรือบริษัทที่ให้บริการที่ปรึกษาด้านภาษียังให้บริการครอบคลุมถึงงานด้านทำบัญชีด้วย ซึ่งจะง่ายต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรมีที่ปรึกษาด้านภาษีในธุรกิจด้วย

ที่ปรึกษาด้าน ทำงานและให้บริการด้านใดบ้าง?

  • ให้แนวทางในการวางแผนภาษีในแต่ละปี เพื่อประหยัดค่าภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อาทิเช่น การบริจาคหรือซื้อสินค้า เพื่อลดหย่อนภาษี เป็นต้น
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยังได้รับคำปรึกษาด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT)*
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล จะได้รับคำแนะนำด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT)**
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารทางด้านบัญชี ที่จะนำมาใช้ในการยื่นภาษีและเสียภาษี

        ข้อดีของการมีที่ปรึกษาด้านภาษี ไม่ใช่แค่เป็นที่ปรึกษาด้านภาษีเท่านั้น นอกจากงานด้านภาษีที่จะทำให้เอกสารและงานด้านภาษีถูกต้อง ชัดเจนแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงทางด้านภาษี เพราะจะแนะนำจุดผิดพลาดที่ก่อให้เกิดการรั่วไหลของเงินที่ม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี


ที่มา : www.ar.co.th

 676
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้
เวลาพูดถึงงบการเงิน หลายๆ คนอาจเข้าใจว่ามันมีรายการเดียวคือ “งบดุล” แต่งบดุลเป็นแค่ส่วนหนึ่งของงบการเงินมาตรฐานของธุรกิจในปัจจุบันเท่านั้น และเอาจริงๆ งบการเงินมีส่วนประกอบใหญ่ๆ ถึง 5 ส่วนด้วยกัน ว่าแต่ ในแต่ละส่วนมันบอกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจบ้าง? ลองไปดูกันครับ
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ใบเสนอราคา หรือ quotation คือเอกสารสำคัญสำหรับนักขาย และเจ้าเอกสารตัวนี้เองก็น่าจะเป็นอะไรที่นักขายทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การปิดดีลการขายเลยก็คงไม่เกินจริงไปนัก อย่างไรก็ตามนักขายจำนวนมากแม้จะรู้ว่าเจ้าใบเสนอราคานั้นหน้าตาเป็นอย่างไร แต่เมื่อต้องทำเองหลายต่อหลายครั้งหากบริษัทไม่ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ นักขายเองก็มักจะออกใบเสนอราคาโดยไม่มี standard ที่ตายตัว นอกจากนี้ตัวนักขายเองก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจกับเจ้าใบนี้เท่าที่ควรด้วย
โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ตัวเลขหรือรหัสที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ผังบัญชีขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการและควบคุมทางบัญชี โดยรหัสบัญชีนี้จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกว่า ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger) เพื่อให้การบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเป็นระเบียบช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์