หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญปี 64

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญปี 64


ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดขึ้นใหม่ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นลูกหนี้จากเดิม 6 ชั้น ปรับเป็น 3 ชั้น ได้แก่

       1. ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Performing)

       2. มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Under-Performing)

       3. มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Non-Performing)

สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปและของสถาบันการเงิน มีสาระสำคัญดังนี้

       1. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมเกิน 500,000 บาทขึ้นไป เป็นเกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควร โดยมีหลักฐานการติดตามทวงอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง เป็นต้น

       2. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมไม่เกิน 500,000 บาท เป็นไม่เกิน 2,000,000 บาท และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควร โดยมีหลักฐานการติดตามอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลมีคำสั่งรับฟ้องแล้ว เป็นต้น

       3. กำหนดวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้รายย่อยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท

       4. กำหนดให้การจำหน่ายหนี้สูญที่มีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ 1 หรือ 2 ข้างต้น ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานการติดตามทวงถามตามสมควรแล้ว แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับ

       5. กำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้จากการให้สินเชื่อที่ได้กันสำรองครบ ร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

       6.กำหนดให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยให้เจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งรวมถึงลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นและมีต้นทุนต่ำลง อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


 แหล่งที่มา : www.infoquest.co.th

 526
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในอดีตที่ผ่านมาความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังมีไม่มาก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมายและเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์การต่าง ๆ
แผนกจัดซื้อเป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยจะเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบบัญชี ระบบการบริหาร และระบบการจัดการบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์