ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ e-Tax Invoice & e-Receipt

ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ e-Tax Invoice & e-Receipt

e-Tax Invoice คืออะไร

“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล

ข้อดีของ e-Tax Invoice

  • เจ้าของธุรกิจจะลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเมื่อกรมสรรพากรได้รับข้อมูลภาษีซื้อ-ภาษีขายทางอิเล็กทรอนิกส์ครบถ้วนแล้ว ระบบจะจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายได้โดยอัตโนมัติ (Electronic VAT Report)
  • ลดต้นทุนในการจัดทำเอกสารใบกำกับภาษีและใบรับจากกระดาษเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • สะดวก ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร

ในการจัดทำ e-Tax Invoice มีด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้

1. e-Tax Invoice by E-mail

เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการระบบภาษีและ ที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี มีจำนวนใบกำกับภาษีที่ออกไม่มากนักและยังไม่พร้อมที่จะออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด

e-Tax Invoice by E-mail เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์PDF-A3 มีการลงลายมือชื่อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic signature) แล้วส่งผ่านระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. หรือ ETDA) เพื่อรับรองเวลาด้วยระบบE-mail โดยผู้ประกอบการไม่ต้องส่งไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากร

2. e-Tax Invoice & e-Receipt

e-Tax Invoice (ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์) คือใบกำกับภาษีรวมถึงใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยระบบ E-Tax Invoice by E-mail

e-Receipt (ใบรับอิเล็กทรอนิกส์) คือใบรับหรือใบเสร็จรับเงินที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล ด้วยวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

ผู้ที่มีสิทธิออก e-Tax Invoice และ e-Receipt

ผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีหน้าที่ออกใบรับ
2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี โดยมีวิธีการสร้าง ส่ง และเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้

ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt

1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบXML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล
2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธี
    3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการ upload file ในรูปแบบXML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th
    3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง
    3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
4. เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีของการใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt

1.ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์และการจัดเก็บใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน
2.ลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารให้แก่กรมสรรพากร
3.ผู้ประกอบการสามารถนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้หลายวิธี


 387
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง
หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น  นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน  นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์