“ภาษี” ที่ไม่ควรเสียมากที่สุด คืออะไร ?

“ภาษี” ที่ไม่ควรเสียมากที่สุด คืออะไร ?


ภาษี” 
เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย

ภาษีทางอ้อมก็ต้องยอมรับว่าเราจะไปบริหารจัดการอะไรมากไม่ได้เพราะยังไงก็ต้องเสีย แต่อย่างภาษีทางตรงโดยเฉพาะภาษีเงินได้ จริงๆเราสามารถวางแผนภาษีเพื่อให้เสียภาษีน้อยลงได้ โดยวิธีหลักๆก็คือ การซื้อ SSF RMF และประกันชีวิต ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนจากทางกรมสรรพากร

นอกเหนือจากภาษีทางตรงและทางอ้อมที่เราจะต้องเสียให้กับรัฐบาล จริงๆยังมีภาษีอีกตัวนึงที่เป็นศัตรูตัวร้ายกับแผนการเงินของเราก็คือ “ภาษีสังคม”

เนื่องด้วยมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม แล้วก็ต้องยอมรับว่าการที่เราจะมีสังคมได้ ยังไงก็มีค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการไปกินเหล้ากับแก๊งเพื่อนๆ ออกไปเที่ยวกับเพื่อนที่ทำงาน หรือการซื้อของฝากเวลาที่เราไปเที่ยวกลับมา ภาษีสังคมก็คือรายจ่ายอะไรประมาณนี้แหละ

จากที่ลองดูบัญชีรายรับรายจ่ายของหลายๆคนที่เพิ่งเริ่มต้นวางแผนการเงิน แล้วอยากเริ่มต้นจัดสรรเงิน รายจ่ายนึงที่เจอเยอะมากๆก็คือรายจ่ายเรื่อง “ภาษีสังคม” เนี่ยแหละ

สำหรับเราคิดว่าภาษีสังคมยังไงก็เป็นรายจ่ายที่สำคัญตัวนึง ไม่ต้องถึงกับตัดทิ้งทั้งหมดและควรกันงบให้กับภาษีสังคมของเราในแต่ละเดือนอย่าให้บานปลายก็พอแล้วล่ะ ถ้าใครชอบปาร์ตี้บ่อยๆ พี่ทุยว่าความสนุกของปาร์ตี้คือคนที่เราไปด้วยหรือเพื่อนเรานี่แหละ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะเลย หรือถ้าใครรู้ตัวว่าเวลาไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนเปลืองตังค์เยอะแน่ๆ ก็จะแนะนำว่าให้กำหนดไปว่าเดือนนึงจะไปไม่เกินกี่ครั้ง 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง เป็นต้น บางคนเห็นมี 5-6 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถ้าเราประหยัดตรงนี้ได้เราก็ประหยัดเงินไปได้มากกว่า 2,000-3,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียวนะ

ถ้าอยากเริ่มต้นจัดสรรรายรับรายจ่าย เราลองมาโฟกัสที่รายจ่ายภาษีสังคมดู เชื่อได้เลยว่าหลังจากที่จดบัญชีรายรับรายจ่ายของเราสัก 1 เดือนแล้ว ต้องมีตกใจกันบ้างแน่นอน ว่าทำไมเราใช้เงินไปกับภาษีสังคมมากมายขนาดนี้



ขอบคุณบทความจาก :: https://www.accprotax.com  หรือ Click  

 831
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินสดย่อยกับเงินกู้ยืมกรรมการมีความคล้ายกันตรงที่เป็นเงินของกิจการที่คนในกิจการต้องการนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกันทั้งคู่ แต่หากกิจการเกิดมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการขึ้นมาจะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วคนที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะขอเปรียบเทียบหน้าที่ของเงินทางบัญชีทั้งสองแบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร
การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์