การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
1. เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิตและต้นทุนขายของธุรกิจ
2. เพื่อสามารถนำต้นทุนทั้งหมดของกิจการมาเปรียบเทียบกับรายได้จากการขายเพื่อจะได้ทราบว่ามีกำไรหรือขาดทุนในการขายสินค้า
3. เพื่อคำนวณหรือตีราคาสินค้าคงเหลือที่ขายได้ไม่หมดว่ามีมูลค่าเท่าไหร่
4. เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการซื้อสินค้าและจัดทำงบประมาณในการซื้อสินค้า รวมทั้งต่อรองราคากับผู้ขายวัตถุดิบ
5. เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าสินค้าใดควรขายต่อไปและสินค้าใดควรเลิกขาย (ในกรณีที่ผู้ผลิตมีสินค้าหลายชนิด)
ต้นทุนแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
1. ต้นทุนผันแปร คือต้นทุนที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงทางตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิตทางตรงเป็นต้น
2. ต้นทุนคงที่คือต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ว่ากิจการจะได้ขายสินค้าหรือไม่ ต้นทุนนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย เช่น เงินเดือนพนักงานหน้าร้าน ค่าเช่าร้าน ค่าเสื่อมราคา ค่าประกันภัย เป็นต้น
ดังนั้นต้นทุนการผลิตจะประกอบไปด้วยวัตถุดิบ+ค่าแรงงาน + ค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งทั้งสามรายการนี้เป็นเพียงส่วนของการผลิตเท่านั้น หากเราจะคิดต้นทุนรวมของสินค้าแล้วเราจำเป็นต้องนำค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการมารวมด้วยเช่น เงินเดือน , ค่าคอมมิชชั่นพนักงานขาย, ค่าแรงพนักงานขายหน้าร้าน, ค่าการตลาด (โฆษณา,แผ่นพับ), ค่าเช่าสำนักงานและร้าน, ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา, ค่าโทรศัพท์, ค่าน้ำมันรถ,ดอกเบี้ย, ค่าเช่ารถ, ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ฯลฯ เพื่อการคำนวณต้นทุนให้ใกล้เคียงความจริง หากเราคำนวณแค่วัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าน้ำค่าไฟฟ้า ก็อาจทำให้เราได้ต้นทุนสินค้าที่น้อยกว่าความเป็นจริงและมีผลทำให้ตั้งราคาขายที่ต่ำไปและอาจขาดทุนได้
วิธีการคำนวณหาต้นทุนการผลิตแบบง่ายมีสูตรดังนี้
การคำนวณแบบง่ายๆนี้เหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กที่มีสินค้าหรือผลิตภัณฑน้อยชนิด อาจขายเพียงน้ำพริก หรือแชมพูก็ได้ ซึ่งเหมาะกับการคำนวณสินค้าประเภทโอทอปที่มีความชัดเจนในเรื่องการใช้วัตถุดิบ ค่าแรงงานต่อรอบการผลิตและไม่มีการเก็บสต๊อกวัตถุดิบไว้ การคำนวณจำเป็นต้องคิดเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนผลิตต่อหน่วย และนำต้นทุนผลิตไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนรวมของสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น
ป้าแจ๋ว ผลิตและขายส่งกล้วยตากในราคากล่องละ 20 บาท โดยมีรายได้จากการขายเดือนละ 12,000 บาท (ขาย 600 กล่องต่อเดือน) ป้าแจ๋วมีการบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2560 ดังนี้
วันที่ | รายการ | จำนวน | หน่วยละ | จำนวนเงิน | รวม(บาท) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
ค่าวัตถุดิบ | ||||||
3 3 3 3 10 10 10 17 17 17 25 25 25 - |
ซื้อกล้วยน้ำว้า น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง ซื้อกล่องพลาสติก ซื้อกล้วยน้ำว้า น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง ซื้อกล้วยน้ำว้า น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง ซื้อกล้วยน้ำว้า น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง รวมค่าวัตถุดิบ |
150 หวี 5 กก. 3 ขวด 400 ใบ 150 หวี 5 กก. 3 ขวด 150 หวี 5 กก. 3 ขวด 150 หวี 5 กก. 3 ขวด - |
4 15 60 1 4 15 60 4 15 60 4 15 60 - |
600 75 180 400 600 75 180 600 75 180 600 75 180 - |
- - - 1,255.00 - - 855.00 - - 855.00 - - 855.00 3,820.00 |
|
ค่าแรงงาน | ||||||
6 6 13 13 20 20 27 27 - |
จ่ายพี่น้อย จ่ายตัวเอง จ่ายพี่น้อย จ่ายตัวเอง จ่ายพี่น้อย จ่ายตัวเอง จ่ายพี่น้อย จ่ายตัวเอง รวมค่าแรงงาน |
2 วัน 3 วัน 2 วัน 3 วัน 2 วัน 3 วัน 2 วัน 3 วัน - |
100 100 100 100 100 100 100 100 - |
200 300 200 300 200 300 200 300 - |
- 500.00 - 500.00 - 500.00 - 500.00 2,000.00 |
|
ค่าใช้จ่ายในการผลิต | ||||||
3 5 9 16 23 30 - |
ซื้อสก๊อตเทป ถุงพลาสติก ค่ารถไปส่งของ ค่ารถไปส่งของ ค่ารถไปส่งของ ค่ารถไปส่งของ รวมค่าใช้จ่ายในการผลิต |
12 ม้วน 2 กก. 1 ครั้ง 1 ครั้ง 1 ครั้ง 1 ครั้ง - |
15 80 100 100 100 100 - |
180 160 100 100 100 100 - |
- - - - - - 740.00 |
|
ค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการ | ||||||
20 21 - |
ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รวมค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการ |
1 เดือน 1 เดือน - |
500 150 - |
500 150 - |
- - 650.00 |
รายได้จากการขายกล้วยตากในเดือนเมษายน 2560
วันที่ | รายการ | จำนวน | หน่วยละ | จำนวนเงิน | รวม(บาท) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
9 16 23 30 - |
ซื้อกล้วยน้ำว้า น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง ซื้อกล่องพลาสติก รวมยอด |
150 กล่อง 150 กล่อง 150 กล่อง 150 กล่อง - |
20 20 20 20 - |
3,000 3,000 3,000 3,000 - |
- - - - 12,000.00 |
จากตัวอย่างข้างต้นเราสามารถคำนวณต้นทุนการผลิตของกล้วยตากได้ดังนี้
ต้นทุนการผลิต = (วัตถุดิบ+ค่าแรง+ค่าใช้จ่ายในการผลิต) /จำนวนหน่วยที่ผลิตได้
= (3,820+2,000+740) = 6,560 / 600 กล่อง
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย = 6,560/600 = 10.93 บาทต่อกล่อง
หากป้าแจ๋วต้องการทราบถึงต้นทุนรวมสินค้าก็จะต้องนำค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการมาใส่ด้วยซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่ค่อยขึ้นลงตามการผลิตมากนัก เพื่อการตั้งราคาที่ทำให้ไม่ขาดทุน ผู้ประกอบการควรนำมาคำนวณเป็นต้นทุนรวมสินค้าภายหลังจากการคำนวณต้นทุนการผลิตต่อหน่วยแล้ว
สูตรการคำนวณทั้งจำนวน
= (6,560+650) = 7,210 /จำนวนหน่วยที่ผลิต
ต้นทุนรวมของสินค้าต่อหน่วย = 7,210/600 = 12.02 บาท ต่อกล่อง
จากการคำนวณแบบง่ายๆนี้ทำให้ป้าแจ๋วทราบว่าหากขายได้เดือนละ 600 กล่องจะมีต้นทุนสินค้า 12.02 บาทและมีต้นทุนลิต 10.93 บาท การที่ป้าแจ๋วตั้งราคาขายไว้ที่ 20 บาทต่อกล่องจึงทำให้ป้าแจ๋วได้กำไรประมาณกล่องละ 8 บาทจะมีกำไรต่อเดือนประมาณ 4800 บาท
ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยคำนวณต้นทุนผลิตและต้นทุนรวมสินค้าไว้ ลองฝึกจดบันทึกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ให้ได้อย่างน้อย 1 เดือนเพื่อนำตัวเลขในเดือนที่จดบันทึกมาคำนวณหาต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าตนเองเพื่อจะได้ไม่ขาดทุนเพราะการตั้งราคาขายที่ต่ำไป
บทความโดย : https://bsc.dip.go.th