เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง

เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง



เปลี่ยนสำนักงานบัญชี
 
เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี หลักๆต้องขอ 3 กลุ่มดังนี้

1. ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืน

โดยปกติผู้ประกอบการจะส่งเอกสารบิลซื้อและขายตัวจริงให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อไปดำเนินการบันทึกบัญชี ดังนั้นเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีตัวจริงทั้งหมดเราจะต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีกลับมาให้หมด ซึ่งกฏหมายกำหนดเก็บเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5ปี ได้แก่

  • บิลซื้อ บิลขาย (เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี)
  • แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จ (ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ภ.พ. 30 ภ.ง.ด. 50, 51)
  • แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน

หมายเหตุ: สำนักงานบัญชีส่วนใหญ่ จะทำใบสำคัญการลงบัญชี
พร้อมแนบเอกสาร จัดเป็นแฟ้มและส่งคืนลูกค้าทุกปีอยู่แล้ว

2.ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี

ข้อมูลการบันทึกบัญชีที่สำนักงานบัญชีจัดทำบัญชีให้เรา ได้แก่

  • งบทดลอง (TB)
  • สมุดรายวันแยกประเภท (GL)
  • สมุดรายวันเฉพาะ (สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่ายเงิน, รับเงิน)
  • ทะเบียนทรัพย์สิน
  • ทะเบียนลูกหนี้ ทะเบียนเจ้าหนี้
  • และรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือฝั่งสินทรัพย์และหนี้สิน

โดยปกติเมื่อเราเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เราจะต้องให้เวลาสำนักงานบัญชีเก่าในการปิดบัญชีเพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับสำนักงานบัญชีใหม่ การปิดบัญชีอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 เดือนในการส่งต่อข้อมูลไปให้กับสำนักงานบัญชีใหม่

3. ขอรหัสผ่านต่างๆ

  • รหัสผ่าน DBD e-Filing
  • รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
  • รหัสผ่านทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตประกันสังคม

ช่วงที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี คือ ตอนเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : onesiri-acc.com

 3448
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
การบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท นกช้าง จำกัด มี การนำวัตุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า บริษัทฯก็ควรทราบว่าต้องมีฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ
การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์