หนังสือรับรอง หักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

หนังสือรับรอง หักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร


ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือชื่อเต็มๆ คือ “ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย” เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเสียภาษี โดยกรมสรรพากรได้กำหนดให้กิจการแต่ละประเภท หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ในจำนวนที่แตกต่างกัน ซึ่งเงินเดือนหรือค่าจ้างจะหักตาม “อัตราก้าวหน้า” ที่กรมสรรพากรกำหนด ถ้าสังเกตกัน เวลาได้รับเงินเดือนจะมีเงินบางส่วนถูกหักออกไปโดยอาจจะรวมถึง เงินสะสมเข้าประกันสังคม และอีกหนึ่งในรายการที่ถูกหักไปก็คือเงินที่นายจ้างหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือนนั่นเอง

การหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็เป็นมาตรการการเก็บภาษีล่วงหน้าบางส่วน เพื่อให้เป็นการทะยอยจ่ายภาษีล่วงหน้าเพื่อลดภาระภาษีเมื่อถึงเวลายื่นภาษีจริงๆ ซึ่งการจ่ายภาษีล่วงหน้า หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถนำมาคำนวณเป็นเครดิตภาษีได้ด้วยนะ

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือ 50 ทวิ คือ เอกสารแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษี นอกจากนี้ในเอกสาร 50 ทวิ ยังแสดงข้อมูลรายได้ว่าได้มาจากที่ใดและจำนวนเท่าไหร่บ้าง เป็นเอกสารที่ผู้มีเงินได้จะได้รับเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี

ตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

ตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
                 ขอบคุณตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย : rd.go.th

ใครเป็นคนจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ?

นายจ้างหรือบริษัท ที่ทำงานกันอยู่ที่มีหน้าที่ออก 50 ทวิ โดยอาจจะจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ หรือถ้าหากจัดทำเป็นภาษาอื่นๆ จะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยกำกับอยู่ด้วย

การจัดทำ 50 ทวิ จะถูกจัดทำออกมา 2 ฉบับ ประกอบด้วย

● ฉบับที่ 1 จะมีข้อความกำกับว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับการแสดงรายการ”
● ฉบับที่ 2 ใช้สำหรับให้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน

บริษัทบางแห่ง อาจจัดทำหนังสือ 50 ทวิ อีก 1 ฉบับเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานก็สามารถทำได้

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะได้รับเมื่อไหร่ ?

หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) นับเป็นเอกสารสำคัญที่คนมีรายได้ทุกคนต้องใช้ในการคำนวณภาษี และเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภงด 91) ดังนั้น หากเลยกำหนดที่เพื่อนๆ ควรจะได้เอกสาร 50 ทวิจากบริษัทแล้ว ปรากฏว่ายังไร้วี่แวว แนะนำให้รีบติดต่อสอบถามไปยังบริษัท หรือแผนกบุคคลทันที

โดยปกติหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายควรออกให้แก่พนักงานภายในวันที่ 15 ก.พ. ของปีถัดจากปีที่มีการหัก ณ ที่จ่าย หรือในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกจากงานระหว่างปี เอกสาร 50 ทวิควรถูกออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษีภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกหักออกจากงาน ในกรณีเป็นเงินได้อื่นๆ นอกจากเงินค่าจ้างเช่น ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา ผู้ถูกหักภาษีต้องได้รับหนังสือรับรองการหักภาษีทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

สรุปว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินภาษีที่นายจ้างหรือบริษัทจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับพนักงาน เพื่อนำส่งให้กับสรรพากรตามหน้าที่ พนักงานก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย หรือ 50 ทวิที่เรียกกันอย่างสั้นๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีว่าได้ชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วจำนวนเท่าไหร่นั่นเอง

 

Cr.moneywecan

 734
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ค่าเบี้ยประกันสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อน สำหรับยื่นแบบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แต่ไม่ใช่ว่าเบี้ยประกันจากกรมธรรม์ทุกประเภทจะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เสมอไป จะต้องเป็นกรมธรรม์ตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้เสียที่ต้องการใช้สิทธิในส่วนนี้ ต้องทำความเข้าใจถึงค่าเบื้ยประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยแยกตามประเภทของเบี้ยประกันดังนี้
ความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจทุกประเภทเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน การจัดวางระบบการเงินและการบัญชีเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะนอกจากจะทำให้เราทราบสถานะของกิจการว่ามีผลกำไรขาดทุนหรือไม่อย่างไร การจัดทำบัญชีและการเงินยังช่วยให้เราทราบข้อมูลของกิจการ เช่น ทราบจำนวนทรัพย์สิน หนี้สิน
การบริจาค ถือเป็นการให้และการเสียสละที่สามารถช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนกิจการสาธารณกุศล สาธารณะประโยชน์ การศึกษา และการกีฬา โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนนอกจากจะทำให้ผู้ให้มีความสุขแล้ว ยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่า และเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์