สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) คืออะไร มีวิธีการจัดการอย่างไร

สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) คืออะไร มีวิธีการจัดการอย่างไร


สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 

สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) คืออะไร

สินค้าค้างสต๊อก คือ สินค้าคงค้าง หรือ Dead stock หมายถึง สินค้าที่ถูกจัดเก็บไว้เพื่อรอการขายมาเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่สามารถขายออกไปได้ โดยส่วนมากสินค้าจะถูกนับเป็น Dead stock เมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวนานมากกว่า 6 เดือน ซึ่งสาเหตุของการมีสินค้าค้างสต็อกอยู่ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้าถูกตีคืนจากลูกค้า และขายไม่ได้
  • สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้าเกิดความเสียหาย
  • สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้าล้าสมัย ทำให้ไม่มีความต้องการอีกต่อไป ขายไม่ออก
  • สินค้าค้างสต๊อกเพราะเป็นสินค้าประเภทที่มีความต้องการใช้น้อย หรืออาจมีความต้องการในกลุ่มลูกค้าที่เจาะจงมาก ๆ เท่านั้น (Niche market)
  • สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้าไม่เคลื่อนไหว (ตลอดกาล)
  • สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้ากลายเป็นเศษซาก หรือของเสีย

วิธีการจัดการสินค้าค้างสต๊อก

1.วิเคราะห์ยอดขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อ

ถ้าคุณไม่อยากมีสินค้าค้างสต๊อก แต่จะพยากรณ์ได้อย่างไรว่าสินค้าชิ้นนี้จะขายออกได้ไหม แล้วต้องสต๊อกไว้เท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการ คุณสามารถดูได้จากการวิเคราะห์ยอดขาย ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการหมุนเวียนของสินค้า สำหรับธุรกิจที่เปิดมานานแล้ว การวิเคราะห์ยอดขายอาจทำได้ไม่ยาก โดยนำข้อมูลเก่า ๆ มาเรียบเรียง และศึกษาดูพฤติกรรมการบริโภคของฐานลูกค้าเก่า 

อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจใหม่ คุณอาจสอบถามไปยัง Supplier เพื่อขอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า หรือใช้วิธีค่อย ๆ เริ่มสต๊อกสินค้าทีละน้อยแล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนหากอัตราการเคลื่อนไหวของสต๊อกเริ่มเข้าที่ 

2.ใช้ระบบจัดการสต๊อกสินค้า

จัดการสินค้าค้างสต๊อกโดยการใช้ระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันอย่างระบบ Fulfillment ที่ช่วยพ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ หรือผู้ประกอบการที่ไม่มีความชำนาญ ม่มีเวลาบริหารสต็อกสินค้า จัดเก็บ-แพ็คและส่งสินค้า พร้อมระบบจัดการสต็อกสินค้าที่ผู้ประกอบการสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของสินค้าได้แบบ Realtime 

ทำให้คุณรู้ว่าเมื่อไหร่ที่สินค้ากำลังจะหมด หรือ Out of stock ช่วยให้สามารถทำการจัดซื้อสินค้าเข้าสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสียโอกาสในการขายเพราะสั่งของไม่ทัน และยังช่วยลดความเสี่ยงสินค้าขายไม่ออกหรือคงค้าง เพราะเมื่อคุณสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของสต๊อกได้ตลอดเวลา ทำให้มีเวลาไปคิดเรื่องการจัดโปร เพื่อระบายสินค้าออกจากคลังได้ทันที  

3.ขายสินค้าในรูปแบบพรีออเดอร์

เลือกรูปแบบการขายสินค้าแบบ Pre-order ซึ่งลูกค้าต้องทำการจอง หรือแจ้งความประสงค์ในการซื้อสินค้าที่กำลังจะพรีออเดอร์มาเสียก่อน ช่วยทำให้ลดปริมาณสินค้าค้างสต๊อกได้ โดยคุณสามารถจัดเก็บเงินทั้งจำนวนได้ทันที หรือจะให้ลูกค้ามัดจำไว้ก่อนก็สามารถทำได้แล้วแต่การตกลง 

การพรีออเดอร์ทำให้คุณสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเท่าที่พอขาย คุณจะสามารถทราบปริมาณความต้องการของผู้บริโภคได้ก่อน ลดความเสี่ยงการเกิดสินค้าคงค้างในสต็อก อย่างไรก็ตาม การพรีออเดอร์สินค้า ไม่อาจสามารถทำได้ในทุก ๆ ประเภทสินค้า เช่น สินค้าที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด ลูกค้าก็ไม่จำเป็นรอการพรีออเดอร์ สู้ไปเลือกซื้อสินค้าที่มีอยู่เลย 

4.จัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม 

การจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายเป็นวิธีช่วยระบายสินค้าค้างสต๊อกได้ดี แต่คุณต้องทำให้ทันเวลา เช่น สินค้าในปมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่ตกรุ่นและล้าสมัยเร็ว หากจัดโปรโมชั่นไม่ทันกาล ไม่ว่าจะลดสักกี่เปอร์เซ็นต์ มีของแถมอีกกี่ชิ้น ก็ไม่อาจระบายสินค้าค้างสต๊อกออกไปให้ทันได้ 

ระบบจัดการสต๊อกจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณบริหารจัดการสต๊อกได้ทันท่วงที เนื่องจากคุณจะเห็นความเคลื่อนไว้ของสินค้าในคลังของคุณตลอดเวลานั่นเอง

5.ขายสินค้าออกตามแบบ FIFO

สินค้าที่มีอายุการใช้งาน หรือสินค้าที่เน่าเสียได้เช่น อาหารกระป๋อง เครื่องสำอางค์ เป็นต้น ควรถูกจัดเก็บอย่างมีระบบ และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากค่าความเสื่อมตามระยะเวลาหรืออายุการใช้งานของสินค้านั้น ๆ ได้ 

การบริหารระบบจัดการ สินค้าค้างสต๊อก ที่ดี ถือเป็นเคล็ดลับความสำเร็จอย่างหนึ่งของธุรกิจเลยก็ว่าได้ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของกิจการ และเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าจากระบบการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ขอบคุณบทความจาก : Peerpower

 693
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
การจ้างสำนักงานบัญชีเพื่อช่วยจัดการเรื่องภาษีและบัญชีเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs แต่ก็มีความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการต้องระวังในการเลือกสำนักงานบัญชี โดยเฉพาะความเสี่ยงที่สำนักงานบัญชีอาจมีพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์หรือโกงภาษี ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจของคุณได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ข้อควรระวังในการจ้างสำนักงานบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์