ต้นทุนแฝง (Hidden Cost) คืออะไร

ต้นทุนแฝง (Hidden Cost) คืออะไร


ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ หลายบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนแฝงที่จริงจังมากพอ รู้ตัวอีกทีก็ขาดทุนติดต่อกันหลายเดือนทีเดียว ในบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความรู้จักเกี่ยวกับต้นทุนแฝงกันให้มากขึ้นค่ะ

ต้นทุนแฝง คืออะไร

ต้นทุนแฝง (Hidden cost) คือ ค่าใช้จ่ายประเภทหนึ่ง เป็นรายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายไปแม้เป็นมูลค่าที่ไม่มีนัยยะสำคัญแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ และเมื่อมีต้นทุนแฝงมากๆ แต่ไม่ได้รับความสนใจหรือการบริหารจัดการที่เพียงพอ อาจกลายเป็นรายจ่ายหลักที่ก่อให้เกิดการขาดทุนของธุรกิจได้เลย

ต้นทุนแฝง หรือ Hidden cost/ Implicit cost เป็นต้นทุนที่มักจะถูกมองข้าม โดยสามารถเป็นได้ทั้งต้นทุนที่จับต้องได้เป็นตัวเอง เช่น ค่าน้ำนัม ค่าไฟ ค่าของสมนาคุณลูกค้า หรืออาจเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ค่าเสียโอกาส เวลา 

การมีต้นทุนแฝงมากเกินไป สร้างปัญหาอะไรบ้าง

ความน่ากลัวและอันตรายของต้นทุนแฝง คือ การถูกมองข้ามไป หรือแย่ที่สุดคือผู้บริหารอาจไม่รับรู้ถึงต้นทุน ค่าใช้จ่ายนี้เลยก็ได้ และเมื่อต้นทุนแฝงมีมากขึ้นก็ส่งผลเสียต่างๆ มากมายต่อการดำเนินกิจการ อาทิเช่น

  • ต้นทุนแฝงมักสร้างค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมาได้หลายประเภท เช่น ต้นทุนแฝงจากสินค้าล้าสมัย ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้แก่ ค่าพื้นที่จัดเก็บสินค้า ค่าพนักงานดูแลสินค้า 
  • ต้นทุนแฝงอาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจของคุณไม่มีกำไรหรือขาดทุนได้
  • ส่งผลให้การบริหารจัดการทรัพยากรเป็นไปได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • เสียโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับบริษัท
  • เป็นรูรั่วของธุรกิจ อาจเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดการทุรจริตภายในองค์กรได้ 

ต้นทุนแฝง มีอะไรบ้าง

1.ต้นทุนแฝงในรูปแบบของเวลา

ต้นทุนแฝงในรูปแบบของเวลา มักก่อโทษให้ธุรกิจสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เต็มประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น การรอวัตถุดิบ ทำให้พนักงานว่างงานเพราะต้องรอวัตถุดิบมาถึงก่อนจึงสามารถดำเนินงานต่อได้ หรือการรอเซ็นต์อนุมัติเอกสาร การรอการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา

2.ต้นทุนแฝงในรูปของค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

ต้นทุนแฝงจากค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่ากระดาษหรือค่าหมึกปริ้นท์จากการพิมพ์เอกสารผิดบ่อยๆ ค่าคลิปหนีบกระดาษ ค่าแก้วกระดาษดื่มน้ำสำหรับพนักงาน 

3.ต้นทุนแฝงจากการติดต่อสื่อสาร

ต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้นจากการติดต่อสื่อสาร เช่น ค่าเดินทางไปพบลูกค้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าห้องประชุมหรือห้องสัมนานอกสถานที่ 

4.ต้นทุนแฝงในรูปของสินค้าคงเหลือ หรือสินค้าคงคลัง 

ต้นทุนแฝงที่มาในรูปแบบของสินค้าคงเหลือ มักเกิดขึ้นจากปัญหาการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่ดีพอ ทำให้มีคิดค้าค้างสต็อกจำนวนมากซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา

วิธีการลดต้นทุนแฝง เพื่อเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ

1.วางแผนงบประมาณให้เข้มงวด

วางแผนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารงานต่างๆ ให้รัดกุม โดยกำหนดเพดานการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยการวางแผนงบประมาณรายจ่ายอาจมีการปรับลดได้ในแต่ละเดือนแต่ต้องมีการกำหนดงบประมาณไว้ล่วงหน้า เพื่อควบคุมรายจ่ายแฝงที่ไม่จำเป็นไม่ให้เกิดขึ้น

2.วางระบบให้รัดกุมด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย 

วางระบบในการตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นควรตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส โดยอาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบมาตรฐาน 

3.ลดต้นทุนด้วยการจัดระเบียบสินค้าคงคลัง

จัดระเบียบสินค้าคงคลัง ซึ่งรวมไปถึงการวางแผนสั่งซื้อวัตถุดิบต่างๆ การผลิต ตลอดจนการมีสินค้าค้างสต็อก ต้องมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับปริมาณความต้องการในแต่ละช่วงเวลา สำหรับธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ๆ อาจยังพบปัญหาในการวางแผนด้านการสต็อกสินค้าบ้าง แต่เมื่อดำเนินการไปสักระยะจะสามารถประเมินตัวเลขของวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ ปริมาณการผลิต ตลอดจนการสต็อกสินค้าในช่วงเวลาที่แตกต่างกันได้ 

4.มีการตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพในการทำงานอยู่เสมอ

ประเมินผลของการวางแผนบริหารต้นทุนแฝงในทุกๆ เดือน เพื่อที่จะได้รู้ว่าแผนที่วางไว้สามารถใช้ได้จริงและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัทได้จริงๆ ลดต้นทุนแฝง ในขณะที่ไม่ได้ลดรายได้ ทำให้บริษัทมีกำไรจากการบริหารงานมากขึ้น ต้นทุนแฝง หรือ Hidden cost ส่วนมากไม่ได้รับการจัดการที่จริงจัง เพราะอาจมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีนัยสำคัญอะไร หากมีต้นทุนแฝงจำนวนมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทรุนแรง ทำให้ขาดทุนโดยไม่รู้ตัวเลยก็ว่าได้ 




ขอบคุณบทความจาก :Moneywecan
 755
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ
เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์