ตรายางบริษัท คืออะไร? และควรคำนึงถึงอะไรในการทำตรายาง?

ตรายางบริษัท คืออะไร? และควรคำนึงถึงอะไรในการทำตรายาง?

ตรายางบริษัท คืออะไร?

ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  

ตรายางบริษัท สำคัญอย่างไร? 

ตรายางบริษัท มีส่วนช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการทำสัญญา ทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ ทั้งยังมีควาเป็นสากล เป็นที่ยอมรับ และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารได้ดีกว่าการใช้ลายมือชื่ออีกด้วย 

หลักเกณฑ์ในการทำตรายางบริษัท

การทำตรายางบริษัทมีหลักเกณฑ์และข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้  

  1. ตรายางบริษัทต้องมีโลโก้บริษัท แต่อาจจะมีหรือไม่มีชื่อบริษัทก็ได้
  2. ในกรณีที่ตรายางมีชื่อบริษัท สามารถใช้ได้ทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ *แต่ต้องเป็นชื่อที่ตรงกับชื่อที่ขอยื่นจดทะเบียนบริษัท 
  3. ตรายางบริษัทสำหรับนิติบุคคล หากใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษ ต้องมีการระบุประเภทของนิติบุคคลด้วย เช่น Company Limited หรือใช้ตัวย่อว่า Co.,Ltd และ Corporation Limited หรือใช้ตัวย่อว่า Corp.,Ltd ส่วนภาษาไทยใช้คำว่า บริษัท…จำกัด (แบบเต็ม)
  4. ตรายางบริษัทสำหรับห้างหุ้นส่วน หากใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ต้องระบุว่าเป็น Limited Partnership ส่วนภาษาไทยให้ใช้คำว่า ห้างหุ้นส่วน…จำกัด
  5. หมึกสำหรับใช้กับตรายางบริษัทไม่ควรเป็นสีดำ เพราะจะทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเอกสารฉบับจริง หรือเป็นสำเนา 
  6. ตรายางบริษัท ต้องไม่มีสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย ดังนี้
  • เครื่องหมายตรามหาจักรีบรมราชวงศ์, พระบรมราชาภิไธย, พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล และพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระอัครมเหสี หรือสมเด็จพระยุพราช
  • พระบรมราชสัญลักษณ์ และพระราชสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระยุพราช
  • พระมหามงกุฎ, มงกุฎขัตติยราชนารี หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกับมงกุฎ
  • ฉัตรต่างๆ อันเป็นลักษณะของเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ, ตราแผ่นดิน, ตราราชการ, ตราครุฑพ่าห์ธงหลวง ธงชาติ หรือธงราชการ 
  • พระราชลัญจกร และลัญจกรในราชการ (ลัญจกร หมายถึง ตราประทับ)
  • ชื่อ หรือเครื่องหมายกาชาด, เครื่องหมายราชการ และสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เช่น ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ ศาลาไทย

สรุปแล้ว ‘ตรายางบริษัท’ ใช้เพื่อเป็นตัวแทนบริษัทในการจดทะเบียนบริษัท การรับรองเอกสาร การทำสัญญา การทำธุรกรรม และนิติกรรม แม้กฎหมายจะไม่ได้บังคับว่าต้องมี แต่ตรายางบริษัทจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ มีความเป็นสากล และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งการทำตรายางสามารถสั่งผลิตได้หลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับทางกฎหมาย หากต้องการทำตรายางบริษัท ก็อย่าลืมเลือกผู้ให้บริการที่ไว้ใจได้ หรือผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ และรู้หลักเกณฑ์ในการทำตรายางบริษัทเป็นอย่างดี 



ขอบคุณที่มา : www.ofm.co.th

 432
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์