12 เรื่องสำคัญนักบัญชีต้องเตรียมพร้อมและปรับตัว

12 เรื่องสำคัญนักบัญชีต้องเตรียมพร้อมและปรับตัว


ในวงการวิชาชีพบัญชี ประเด็นที่ค่อนข้างสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านและเปลี่ยนแปลง เนื่องจากด้านเทคโนโลยีในวงการวิชาชีพบัญชียังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง นับวันยิ่งเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัดอย่างใน ปี 2020 แนวโน้มจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นักบัญชีจะต้องเตรียมความพร้อมและรับมืออย่างไร


และนี่คือ 12 เรื่องสำคัญนักบัญชีต้องเตรียมพร้อมและปรับตัว

1. กระบวนการบัญชีอัตโนมัติ (Automated Accounting Processes)
เนื่องจากระบบอัตโนมัติช่วยลดความสับสนและลดข้อผิดพลาดและเป็นเหตุผลว่าเหตุใดหลายๆกิจการ จึงมีแนวโน้มที่จะลงทุนด้านการทำบัญชีอัตโนมัติมากขึ้น เนื่องจากเป็นกระบวนการที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการบันทึกบัญชี

2. การทำงานอัตโนมัติหรือนกบัญชีหุ่นยนต์ (Robotic Process Automation: RPA)
RPA คือ โปรแกรมที่ช่วยให้กิจการสามารถสร้างหุ่นยนต์ หรือ Robot ขึ้นมา ให้ทำงานตามรูปแบบที่กำหนดขึ้นแทนพนักงานที่มีอยู่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานแทนพนักงานบัญชีได้

3. ซอฟต์แวร์บัญชีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (Rise of Accounting Software Solutions)
บริษัทซอฟต์แวร์ด้านบัญชีจะตอบสนองความต้องการนี้ด้วยรูปแบบ (Solution) การแก้ไขปัญหาที่แข็งแกร่งแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ด้านการบัญชี สามารถตอบสนองการตัดสินใจของผู้บริหารได้ทันที

4. การให้บริการด้านบัญชีจากสำนักงานภายนอก (Outsourcing Accounting Functions)
ประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มผลกำไรได้คงเดิม แต่สามารถลดค่าใช้จ่ายการจ้างงาน รูปแบบการให้บริการด้านบัญชีจากสำนักงานภายนอก (Outsourcing Accounting Functions) จึงกลายเป็นกลยุทธ์ยอดนิยม

5. คลาวด์ด้านการบัญชี Cloud-Based Accounting
สามารถเข้าถึงระบบบัญชีและข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีได้ตลอดเวลา การติดตามสินค้าคงคลังการขายและค่าใช้จ่ายทุกรูปแบบ ช่วยให้สามารถสร้างระบบการทำงาน (Work Flow) ช่วยประหยัดเวลาอันมีค่าของธุรกิจนักบัญชีสามารถทำให้บทบาทและภาระการทำงานง่ายขึ้น

6. มุ่งเน้นข้อมูลที่เจาะจง (Focus on Data Analytics)
นักบัญชีกำลังเปลี่ยนบทบาทใหม่ในฐานะที่ปรึกษาพร้อมทักษะเฉพาะทางในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์ตัวเลขที่แม่นยำช่วยให้ธุรกิจเกิดการป้องกันความเสี่ยง นำเสนอผลการดำเนินงานทางการเงินที่มุ่งเน้นข้อมูลที่เจาะจงในมุมมองใหม่ เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น ทำให้การตรวจสอบบัญชี สามารถใช้ข้อมูลที่เจาะจง (Focus on Data Analytics) เพื่อหาแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีที่สุด เพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของอุตสาหกรรมที่ให้บริการได้

7. Block chain
วิชาชีพบัญชีจำเป็นต้องเข้าใจเทคโนโลยี Block chain มากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า Block chain กำลังเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน

8. การใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดีย (Utilizing Social Media)
เพื่อช่วยการรับรู้แบรนด์ เพิ่มยอดขาย และเพิ่มอัตราการเข้าชมเว็บไซต์ เครื่องมือสร้างแบรนด์และการบริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การใช้โซเชียลมีเดียในธุรกิจสำหรับติดต่อกับลูกค้าจะสร้างภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และชื่อเสียงให้กับนักบัญชีและบริษัทได้

9. บริการให้คำปรึกษา (Advisory Services)
มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพของการบริการให้คำปรึกษา เนื่องจากการใช้เทคโนโลยี จะเข้ามาช่วยผ่อนแรงในการแก้ไขปัญหา เปิดโอกาสให้นักบัญชีมีเวลามากพอที่จะใช้ข้อมูลเชิงลึกในการให้คำแนะนำแก่ลูกค้า ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างกลยุทธ์ธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

10. บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ Role of AI (AI)
จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากด้วยความเร็วสูง และสร้างข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง AI จะให้ความช่วยเหลือในการตัดสินใจของมนุษย์ และเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์กำไร และให้ข้อมูลเชิงลึกที่เชื่อถือได้

11. ข้อมูลขนาดใหญ่ในด้านบัญชี (Big Data in Accounting)
ช่วยให้กิจการสามารถขยายวิธีการประเมินข้อมูลที่เรียบเรียงมาได้ว่าข้อมูลใดที่มีค่ามากที่สุด ผู้บริหารที่ได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลขนาดใหญ่สามารถมุ่งเน้นที่การวางแผนการควบคุม การวิเคราะห์ กระบวนการ และสามารถคาดการณ์ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ และมีประสทธิภาพ

12. การตั้งค่าการทำงานระยะไกล (Remote Work Setting)
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเกิดขึ้นของระบบบัญชีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ทำให้นักบัญชีที่ทำงานจากที่บ้านสามารถให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในการทำงานไม่แตกต่างไปจากการทำงานอยู่ในสำนักงาน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.dharmniti.co.th
 916
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
การสลักหลังเช็ค เราสามารถทำได้กี่แบบ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
แบบ ภ.ง.ด.94   : แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน  เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์