ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่



ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สิน


หลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

ก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน

สรุปหลักการบัญชี

ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินหรือภาระผูกพันในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ ประมาณการหนี้สินจะต้องรับรู้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

- กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีตไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน
- มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว
- สามารถประมาณจำนวนของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ

เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อข้างต้นแล้ว กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่ายที่ต้องนำไปจ่ายชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

Keyword สำคัญก็คือ คำว่า “ประมาณการที่ดีที่สุด” และ Timeline ที่สนใจ คือ ณ  วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

ตัวอย่างเช่น

การรับประกันสินค้า  เราอาจจะเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้การรับประกันสินค้าเมื่อขายสินค้าให้กับลูกค้าภายใต้เงื่อนไขของสัญญาขายผู้ผลิตจะรับผิดชอบสินค้าให้อยู่ในสภาพดี โดยการซ่อมหรือเปลี่ยนแทนสินค้าที่มีตำหนิภายในเวลา 3 ปี นับจากวันที่ซื้อ จากประสบการณ์ในอดีตของผู้ผลิตพบว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่จะมีการเรียกร้องการรับประกันสินค้า

ดังนั้น กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุดของต้นทุนในการทำให้สินค้าอยู่ในสภาพดีภายใต้การรับประกันสินค้าที่ขายไป ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และบันทึกบัญชี ดังนี้

 Dr. ประมาณการค่าใช้จ่ายจากการรับประกันสินค้า   1,000,000                        
                Cr. หนี้สินจากที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประกันสินค้า              1,000,000

พอจะทราบที่มาที่ไป และหลักการทางบัญชีไปแล้ว ลองมาดูกันต่อว่าสำหรับด้านภาษี รายการนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

สรุปหลักการทางภาษี

ตามประมวลรัษฎากรได้กล่าวไว้ว่า ประมาณการค่าใช้จ่ายถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองจึงไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในงวดที่เกิดการประมาณการ ต้องบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่จะถือเป็นรายจ่ายได้เมื่อทราบจำนวนแน่นอนว่าต้องจ่าย เช่น ในรอบระยะบัญชีเวลาถัดมา มีผู้มาเคลมสินค้าที่บริษัทได้รับประกันไว้ และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเกิดขึ้นจริงจำนวน 300,000 บาท ค่าใช้จ่ายนี้จะถือเป็นรายจ่ายทางภาษีได้  หรือถ้าสังเกตง่ายๆ จากบัญชีแยกประเภท สามารถทำได้ดังนี้



จากตัวอย่างข้างต้น ทุกท่านคงพอจะเข้าใจว่าประมาณการหนี้สินทางบัญชีนั้น นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีไม่ได้ทันที แต่ต้องรอให้เกิดขึ้นจริงก่อน จึงสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ เพราะทราบจำนวนแน่นอนและไม่ใช่รายจ่ายที่นั่งเทียนกำหนดขึ้นมาเอง

เลือกซื้อ Software บัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี Click

ที่มา : ThaiCpdatHome.com
 4818
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หากจำนวนเงินค่าบริการหรือค่าจ้างที่ต้องจ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและออกใบรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) หรือไม่
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป
สิ่งสำคัญของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ผู้บริหารและเจ้าของกิจการที่ไม่ใช่นักการบัญชี อาจมองถึงผลกำไรของธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารด้านการตลาดซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่หากไม่มีข้อมูลตัวเลขจากการจัดทำบัญชี ก็คงไม่สามารถวิเคราะห์และนำมาพิจารณาเพื่อจะนำไปบริหารเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม  เรามีคำแนะนำ 10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชีบริการรับทำบัญชีมาให้เป็นแนวทางดังนี้ 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์