เปลี่ยนผู้ทำบัญชีของบริษัทต้องทำอย่างไร

เปลี่ยนผู้ทำบัญชีของบริษัทต้องทำอย่างไร


1. ขอเอกสารที่ใช้ในการบันทึกบัญชีคืน

การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา

กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าต้องเก็บเอกสารที่ใช้ในการประกอบการบันทึกบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
– บิลซื้อ บิลขาย
– ใบเสร็จและเอกสารนำส่งภาษี (ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ภ.พ. 30, ภ.ง.ด. 50,51)
– เอกสารที่ใช้นำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน

ผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชีส่วนใหญ่จะทำใบสำคัญการลงบัญชีพร้อมแนบเอกสารส่งคืนลูกค้าทุกปี

2. ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี
  • งบทดลอง (Trial Balance)
  • สมุดรายวันแยกประเภท (General Ledger)
  • สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่ายเงิน, รับเงิน
  • ทะเบียนทรัพย์สิน
  • ทะเบียนเจ้าหนี้ ทะเบียนลูกหนี้
  • รายละเอียดประกอบยอดคงเหลือสินทรัพย์และหนี้สิน

ผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชีจะต้องให้เวลากับผู้ทำบัญชีเก่าในการปิดบัญชี เพื่อส่งข้อมูลให้ผู้ทำบัญชีรายใหม่ การปิดบัญชีส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน แต่ผู้ทำบัญชีรายใหม่สามารถทำบัญชีได้เลย ไม่ต้องรอผู้ทำบัญชีรายเก่าปิดงบเสร็จ

3. ขอรหัสผ่านต่างๆ ที่เกี่ยวกับบัญชี
  • รหัสผ่าน DBD E-Filing
  • รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
  • รหัสผ่านที่ใช้ทำธุรกรรมบนเว็บประกันสังคม

วันเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่เหมาะกับการเปลี่ยนผู้ทำบัญชี หรือ สำนักงานบัญชีใหม่

ขั้นตอนการเปลี่ยนผู้ทำบัญชีใหม่

  1. ผู้ทำบัญชีต้องทำเรื่องแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
  2. ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ E-Accountant ที่เว็บ DBD

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ขอบคุณบทความจาก :: https://www.accprotax.com   หรือ Click  

 1654
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น  นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน  นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน
กระดาษทำการ (Work Sheet) หมายถึง แบบฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำงบการเงินมาไว้ที่เดียวกันกระดาษทำการเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงรายการตอนสิ้นงวดก่อนปิดบัญชีดังนั้นกระดาษทำการจะจัดทำขึ้นภายหลังที่ได้จดบันทึกรายการต่าง ๆ ของธุรกิจในบัญชีครบถ้วนแล้วแต่ยังไม่ได้ลงรายการปรับปรุงและปิดบัญชี
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์