สำนักงานบัญชีท่านเคยประสบบัญหาอย่างนี้หรือไม่ ?

สำนักงานบัญชีท่านเคยประสบบัญหาอย่างนี้หรือไม่ ?



ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชี มาจากลูกค้า มาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงาน ทั่วประเทศไทย
   
     ถึงแม้จะมีการวางแผนป้องกันและแก้ไขดีอย่างไรก็ตาม แต่ก็ยังเกิดขึ้นได้เป็นประจำทุกๆปี ท่านเคยประสบปัญหาดังต่อไปนี้หรือไม่ ?

     1. พนักงานลาออกบ่อย อายุการทำงานของพนักงานเฉลี่ย 1-2 ปี ทำให้การทำงานสะดุด มีการวางแผนการทำงานยาก ไม่ต่อเนื่อง ขยายงานลำบาก เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากกว่าจะได้พนักงานที่มีความรู้ความสามารถมาทำงาน ทดแทน ถ้าจะเตรียมพนักงานสำรองไว้ งบประมาณรายจ่ายก็ไม่เพียงพอ

     2. ช่วงระยะเวลาการปิดบัญชี จัดทำงบการเงินประจำปีให้ลูกค้าของทุกๆปี จะเกิดปัญหาพนักงานมีไม่เพียงพอ หรือมีเพียงพอ แต่พนักงานมีประสบการณ์น้อยเกินไป

     3. การจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานค่อนข้างน้อยกว่าธุรกิจอื่นๆ ถึงแม้สำนักงานบัญชีอยากจะจ่ายให้เท่ากับธุรกิจอื่นก็ตาม แต่เป็นเรื่องยากที่คิดจะหารายได้เพิ่ม การปรับอัตราค่าบริการจากลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องยากมาก

     4. การบันทึกบัญชีให้ลูกค้าล่าช้าเกิน 3 เดือนทำให้เกิดปัญหามากมายในช่วงระยะเวลาการปิดบัญชี จัดทำงบการเงินให้ทันกำหนด

     ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากนี้มีทางแก้ไขให้ดีขึ้นได้โดยสำนักงานบัญชีทั่วประเทศต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเฉพาะ การใช้ซอฟต์แวร์บัญชีที่ดีมีคุณภาพ ตอบสนองการใช้งานของสำนักงานบัญชีโดยเฉพาะ (Version สำนักงานบัญชี) ขณะเดียวกันก็นำซอฟท์แวร์นี้ไปเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ SME ที่เป็นลูกค้าของท่าน เลือกซื้อ Software บัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี Click


บทความโดย : http://tac.prosmes.com/
 763
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
TAX กับ VAT เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงในโลกออนไลน์กันอย่างต่อเนื่องว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และถือเป็นการเสียภาษีให้กับภาครัฐเหมือนกันหรือไม่? 
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์