ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด

ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด



ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง ได้แก่


- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ โดยทุกเดือนจะต้องยื่นแบบภาษี โดยคำนวณจาก ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax หรือ CIT) คือ ภาษีที่มีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้เสียภาษี จากกำไรสุทธิทางภาษี คุณด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุดอยู่ที่ 20%

และสำหรับภาษีซื้อต้องห้าม ที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีที่เรามักจะเจอบ่อยในชีวิตประจำวัน ได้แก่

1. ภาษีซื้อสำหรับค่ารับรอง เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทํานองเดียวกัน รวมทั้งค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการหรือที่ให้บุคคลอื่น

2. ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตร - บังคับเฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง

3. ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีอย่างย่อ เช่น ซื้ออาหารสำหรับพนักงานจาก 7-11 และได้ใบกำกับภาษีอย่างย่อมา

4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการยังไม่ได้จด Vat เพราะยังไม่เข้าเงื่อนไข แต่ได้ไปซื้อคอมพิวเตอร์มาจากร้านค้าที่จด Vat

5. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อนํามาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์นั้น หรือนําไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์

6. ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีแบบเต็มรูปที่มีข้อบกพร่อง ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น
- มีรายการในใบกํากับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทําขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําใบกําากับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
- มีข้อความอื่นที่อธิบดีกําหนดในใบกํากับภาษีที่ไม่ได้จัดทําขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
- มีรายการในใบกํากับภาษีเป็นสําเนา (Copy) แต่ไม่รวมถึงใบกําากับภาษีที่จัดทํารวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจํานวนหลายฉบับ และใบกํากับภาษีมีรายการในใบกํากับภาษีเป็นสําเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย     

7. ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คํานวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร– การเฉลี่ยภาษีซื้อ ใน กิจการ ที่มีรายการขาย / บริการ ทั้งที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

8. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มนําไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือก  ไม่นําภาษีซื้อ ทั้งหมดไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม  เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด 

หากมีภาษีซื้อเกิดขึ้น อย่าลืมพิจารณาก่อนว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) หรือไม่ หากใช่ ให้พิจารณาต่อว่า ภาษีซื้อนั้น สามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในการกำไรสุทธิสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่เราอธิบายในบทความนี้หรือไม่ ภาษีซื้อต้องห้ามบางอย่างสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าไม่ทำความเข้าใจดีๆ อาจจะเสียสิทธิประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล


ที่มา : thaicpdathome.com
 31714
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในช่วง Covid-19 อย่างงี้ อยู่บ้านปลอดภัยที่สุด กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน “TAX from Home”  ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ป้องกัน การแพร่ระบาดของ COVID – 19 และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ชำระภาษีออนไลน์จากธนาคารที่ร่วมโครงการอีกด้วย
( ภาษาอังกฤษ There are many types )บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
ผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการพร้อมออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐาน ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายด้วย เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร 
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์