sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่
ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่
ประมาณการหนี้สินเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่
ย้อนกลับ
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สิน
หลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
สรุปหลักการบัญชี
ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินหรือภาระผูกพันในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ ประมาณการหนี้สินจะต้องรับรู้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
- กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีตไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน
- มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว
- สามารถประมาณจำนวนของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ
เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อข้างต้นแล้ว กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุดของรายจ่ายที่ต้องนำไปจ่ายชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
Keyword สำคัญก็คือ คำว่า “ประมาณการที่ดีที่สุด” และ Timeline ที่สนใจ คือ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
ตัวอย่างเช่น
การรับประกันสินค้า เราอาจจะเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้การรับประกันสินค้าเมื่อขายสินค้าให้กับลูกค้าภายใต้เงื่อนไขของสัญญาขายผู้ผลิตจะรับผิดชอบสินค้าให้อยู่ในสภาพดี โดยการซ่อมหรือเปลี่ยนแทนสินค้าที่มีตำหนิภายในเวลา 3 ปี นับจากวันที่ซื้อ จากประสบการณ์ในอดีตของผู้ผลิตพบว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่จะมีการเรียกร้องการรับประกันสินค้า
ดังนั้น กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินด้วยจำนวนประมาณการที่ดีที่สุดของต้นทุนในการทำให้สินค้าอยู่ในสภาพดีภายใต้การรับประกันสินค้าที่ขายไป ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และบันทึกบัญชี ดังนี้
Dr. ประมาณการค่าใช้จ่ายจากการรับประกันสินค้า 1,000,000
Cr. หนี้สินจากที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประกันสินค้า 1,000,000
พอจะทราบที่มาที่ไป และหลักการทางบัญชีไปแล้ว ลองมาดูกันต่อว่าสำหรับด้านภาษี รายการนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่
สรุปหลักการทางภาษี
ตามประมวลรัษฎากรได้กล่าวไว้ว่า ประมาณการค่าใช้จ่ายถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองจึงไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในงวดที่เกิดการประมาณการ ต้องบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่จะถือเป็นรายจ่ายได้เมื่อทราบจำนวนแน่นอนว่าต้องจ่าย เช่น ในรอบระยะบัญชีเวลาถัดมา มีผู้มาเคลมสินค้าที่บริษัทได้รับประกันไว้ และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเกิดขึ้นจริงจำนวน 300,000 บาท ค่าใช้จ่ายนี้จะถือเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ หรือถ้าสังเกตง่ายๆ จากบัญชีแยกประเภท สามารถทำได้ดังนี้
จากตัวอย่างข้างต้น ทุกท่านคงพอจะเข้าใจว่าประมาณการหนี้สินทางบัญชีนั้น นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีไม่ได้ทันที แต่ต้องรอให้เกิดขึ้นจริงก่อน จึงสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ เพราะทราบจำนวนแน่นอนและไม่ใช่รายจ่ายที่นั่งเทียนกำหนดขึ้นมาเอง
เลือกซื้อ Software บัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี Click
ที่มา : ThaiCpdatHome.com
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
บันทึกบัญชี
Software บัญชี
สำนักงานบัญชี
6030
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี
รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี
เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง
จ่ายค่าจ้างพนักงานใช้หลักฐานอะไรบันทึกบัญชี
จ่ายค่าจ้างพนักงานใช้หลักฐานอะไรบันทึกบัญชี
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
ผู้ตรวจสอบบัญชีคือใคร ทำไมต้องตรวจสอบบัญชี
ผู้ตรวจสอบบัญชีคือใคร ทำไมต้องตรวจสอบบัญชี
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี
ความแตกต่างระหว่างผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ความแตกต่างระหว่างผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
4 เคล็ด(ไม่)ลับ ลดหย่อนภาษียังไงให้จ่ายน้อยสุด! และคุ้มค่าที่สุด!
4 เคล็ด(ไม่)ลับ ลดหย่อนภาษียังไงให้จ่ายน้อยสุด! และคุ้มค่าที่สุด!
เทคนิค 4 ข้อเพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างถูกวิธี
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com