ผู้ประกอบการทำบัญชีเองได้มั้ย ?

ผู้ประกอบการทำบัญชีเองได้มั้ย ?

มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่

การที่ผู้ประกอบการใช้บริการโปรแกรมบัญชี ทำบัญชี/ออกเอกสาร/ซื้อ-ขาย/บันทึกรายการบัญชี/จำทำระบบบัญชีที่ดี หรือแม้กระทั่งดูสรุปข้อมูลต่างๆเองได้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องจ้างนักบัญชี หรือสำนักงานบัญชีในการตรวจสอบความถูฏต้อง ซึ่งการปิดงบนั้นจำเป็นต้องให้นักบัญชีที่รับทำบัญชี หรือสำนักงานบัญชีที่มีความหมายเชี่ยวชาญในการจัดการ เพราะตามระเบียบของกรมสรรพากรกำหนดให้นักบัญชีลงนามในการจัดทำรายงานเพื่อยื่นส่งภาษี ต้องแยกออกระหว่างผู้ทำบัญชีและผู้ทำเอกสารของบัญชี การออกเอกสารใบกำกับภาษี/ออกบิล/ใบเสร็จรับเงิน/จ่ายเงิน/เก็บเอกสาร/รวบรวมเอกสารต่างๆ/ยื่น ภพ.30 และภงด.ต่างๆ ผู้ประกอบการสามารถทำได้เองจบสาขาอะไรก็ทำได้  แต่งานบัญชี/ทำงบการเงินจำเป็นต้องเป็นผู้ทำบัญชีเท่านั้น

ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. จลปริญญาหรืออนุปริญญาทางบัญชี
  2. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ
  3. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  4. อบรมความรู้ต่อเนื่องด้านวิชาชีพทุกๆปีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี

ระดับอนุปริญญาหรือปวส.ทางด้านบัญชีรับทำบัญชีให้กับธุรกิจประเภท ก.ได้โดยจำกัดทะเบียนของกิจการไม่เกิน5 ล้านบาท สินทรัพย์และรายได้อย่างละไม่เกิน 30 ล้านบาท

หน้าที่ของผู้ทำบัญชี

  • จัดทำบัญชี

หน้าที่แรกเลย คือการจัดทำบัญชีทั้งจัดทำงบการเงินต่างๆ บัญชีรายรับ-รายจ่าย งบกำไรขาดทุนหรืออื่นๆมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องรู้เรื่องการเงินในบริษัทนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น วางแผนธุรกิจ วางแผนทางการตลาด และอื่นๆต่อไป

  • ยื่นแบบประจำเดือน/ประจำปี

การยื่นแบบประจำเดือน เช่น ภพ.30 ภงด.1 ภงด.51 ภงด.53 เงินสมทบประกันสังคม หรือแบบอื่นที่จำเป็นต้องยื่นให้กรมสรรพากรรวมถึงแบบประจำปี อย่างการจัดทำงบการเงินที่ต้องส่งให้กระทวงพาณิชย์ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจำเป็นต้องให้นักบัญชีลงนามในการจัดทำรายงานเพื่อยื่นส่งภาษี

  • ให้คำปรึกษาทางด้านบัญชี

ให้คำปรึกษา/ ให้คำแนะนำในการจัดการภาษีหรือคำแนะนำอื่นๆที่ทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายกับการจัดารด้านบัญชีและภาษีน้อยที่สุดเพราะในการจัดการบัญชีภาษี มีเรื่องของกฎหมายเข้ามาด้วย


ที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ 

 1363
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
การสลักหลังเช็ค เราสามารถทำได้กี่แบบ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ 
เงินมัดจำ (อังกฤษ: earnest) คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันมีค่าในตัวซึ่งให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์