ผู้ประกอบการทำบัญชีเองได้มั้ย ?

ผู้ประกอบการทำบัญชีเองได้มั้ย ?

มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่

การที่ผู้ประกอบการใช้บริการโปรแกรมบัญชี ทำบัญชี/ออกเอกสาร/ซื้อ-ขาย/บันทึกรายการบัญชี/จำทำระบบบัญชีที่ดี หรือแม้กระทั่งดูสรุปข้อมูลต่างๆเองได้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องจ้างนักบัญชี หรือสำนักงานบัญชีในการตรวจสอบความถูฏต้อง ซึ่งการปิดงบนั้นจำเป็นต้องให้นักบัญชีที่รับทำบัญชี หรือสำนักงานบัญชีที่มีความหมายเชี่ยวชาญในการจัดการ เพราะตามระเบียบของกรมสรรพากรกำหนดให้นักบัญชีลงนามในการจัดทำรายงานเพื่อยื่นส่งภาษี ต้องแยกออกระหว่างผู้ทำบัญชีและผู้ทำเอกสารของบัญชี การออกเอกสารใบกำกับภาษี/ออกบิล/ใบเสร็จรับเงิน/จ่ายเงิน/เก็บเอกสาร/รวบรวมเอกสารต่างๆ/ยื่น ภพ.30 และภงด.ต่างๆ ผู้ประกอบการสามารถทำได้เองจบสาขาอะไรก็ทำได้  แต่งานบัญชี/ทำงบการเงินจำเป็นต้องเป็นผู้ทำบัญชีเท่านั้น

ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. จลปริญญาหรืออนุปริญญาทางบัญชี
  2. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ
  3. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  4. อบรมความรู้ต่อเนื่องด้านวิชาชีพทุกๆปีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี

ระดับอนุปริญญาหรือปวส.ทางด้านบัญชีรับทำบัญชีให้กับธุรกิจประเภท ก.ได้โดยจำกัดทะเบียนของกิจการไม่เกิน5 ล้านบาท สินทรัพย์และรายได้อย่างละไม่เกิน 30 ล้านบาท

หน้าที่ของผู้ทำบัญชี

  • จัดทำบัญชี

หน้าที่แรกเลย คือการจัดทำบัญชีทั้งจัดทำงบการเงินต่างๆ บัญชีรายรับ-รายจ่าย งบกำไรขาดทุนหรืออื่นๆมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องรู้เรื่องการเงินในบริษัทนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น วางแผนธุรกิจ วางแผนทางการตลาด และอื่นๆต่อไป

  • ยื่นแบบประจำเดือน/ประจำปี

การยื่นแบบประจำเดือน เช่น ภพ.30 ภงด.1 ภงด.51 ภงด.53 เงินสมทบประกันสังคม หรือแบบอื่นที่จำเป็นต้องยื่นให้กรมสรรพากรรวมถึงแบบประจำปี อย่างการจัดทำงบการเงินที่ต้องส่งให้กระทวงพาณิชย์ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจำเป็นต้องให้นักบัญชีลงนามในการจัดทำรายงานเพื่อยื่นส่งภาษี

  • ให้คำปรึกษาทางด้านบัญชี

ให้คำปรึกษา/ ให้คำแนะนำในการจัดการภาษีหรือคำแนะนำอื่นๆที่ทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายกับการจัดารด้านบัญชีและภาษีน้อยที่สุดเพราะในการจัดการบัญชีภาษี มีเรื่องของกฎหมายเข้ามาด้วย


ที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ 

 1148
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี CPA (Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์) การสอบ CPA เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในด้านบัญชีและงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นที่ยอมรับและเคารพในวงกว้างในวงการบัญชีและการเงิน
สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์