3 เหตุผลที่ทำไมโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีจึงมีประโยชน์

3 เหตุผลที่ทำไมโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีจึงมีประโยชน์


การจัดการการเงินของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย
, ใบเสร็จและสเปรดชีตของรายได้ จำเป็นต้องใช้วิธีต่าง ๆ ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งถ้าหากไม่รอบคอบอาจมีความเสี่ยงทำให้ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตามสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยซอฟต์แวร์หรือระบบบัญชีที่ถูกต้อง โดยการจัดเตรียมไฟล์บัญชีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเสียภาษี ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจหันมาพึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีเพราะมันสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มากมายดังต่อไปนี้

โปรแกรมบัญชีสามารถทำงานได้อัตโนมัติไม่ซับซ้อน

            การรวบรวมข้อมูลแบบเดิมอาจทำให้ผู้ที่รับทำบัญชีจะต้องมานั่งป้อนข้อมูลเป็นเวลานานและทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ ดังนั้นผู้ทำบัญชีหรือธุรกิจจึงควรใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมในการป้อนข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติภายในครั้งเดียว ด้วยซอฟต์แวร์และโปรแกรมสมัยใหม่สามารถทำให้ธุรกิจเข้าใจการชำระเงินของลูกค้า รวมถึงประวัติการซื้อของลูกค้าและสามารถเรียกใช้ใบแจ้งหนี้ทำให้การชำระเงินสามารถทำได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยประวัติการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บไว้ในระบบโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้ทำบัญชีประหยัดเวลาและยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการป้อนข้อมูลด้วยตนเอง

ช่วยธุรกิจจัดการภาษี

            การใช้ระบบ และโปรแกรมบัญชีที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจบันทึกและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทำให้งานบัญชีของคุณง่ายยิ่งขึ้นและสะดวกในการจัดการภาษี นอกจากนี้ซอฟต์แวร์บางตัวยังมีระบบที่สอดคล้องกับกฎของสำนักงานภาษีด้วยการจัดรูปแบบเอกสารต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณไม่ต้องปวดหัวกับการจัดการภาษีในช่วงเวลาเสียภาษี

ลดค่าใช้จ่าย

           โปรแกรมบัญชีอัตโนมัติช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดเงินได้ในระยะยาว และช่วยลดการจ้างพนักงานทำบัญชีได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ยังมีรูปแบบการกำหนดราคาตามการสมัครโดยมีต้นทุนที่ต่ำ ด้วยการสมัครรับข้อมูลจะช่วยให้คุณได้รับการอัพเดต, การสนับสนุนและเครื่องมือต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถมุ่งความสนใจไปที่การดำเนินธุรกิจของคุณได้จริง

>>
อ่านบทความ 5 เหตุผล SME ควรใช้โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)


บทความโดย:
 https://www.arac.co.th

 897
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์