การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน

การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน



    ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มธุรกิจใหม่ มักกังวลถึงความเสี่ยงของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่และมีกำไรเพียงพอที่จะเสี่ยงลาออกมาจากงานประจำหรือไม่ รวมทั้งอยากทราบว่าจะขายจำนวนเท่าใดถึงจะคุ้มทุนในแต่ละเดือน เรื่องการหาจุดคุ้มทุนช่วยในการคาดการณ์ว่าเมื่อเริ่มธุรกิจแล้วควรจะขายเดือนละเท่าใดถึงไม่ขาดทุน การคำนวณหาจุดคุ้มทุนเป็นเรื่องไม่ยากเลยเพราะในแง่ของวิชาบัญชีและการเงินมีสูตรที่ใช้ในการคำนวณเพื่อวางแผนการขายให้ได้เท่าทุน มาเข้าใจเรื่องของจุดคุ้มทุน (Break-even point) ก่อนว่าคืออะไร จุดคุ้มทุนก็คือจุดที่ผู้ขายสินค้าขายได้ในปริมาณที่ทำให้ธุรกิจไม่ขาดทุนและไม่กำไร ก็คือเท่าทุนนั่นเอง ความจำเป็นในการคำนวณจุดคุ้มทุนก็เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบว่าในแต่ละเดือนจะต้องขายสินค้าในปริมาณเท่าไหร่ถึงไม่ขาดทุน เมื่อทราบว่าจะต้องขายกี่ชิ้นต่อเดือนถึงเท่าทุนก็จะมีความพยายามที่จะขายให้ได้เท่าปริมาณนั้นเป็นอย่างน้อยและถ้าขายได้มากขึ้นก็จะเกิดกำไรทันที และหากว่าผู้ประกอบการได้พยายามขายสินค้าอย่างเต็มที่แล้วแต่ก็ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนสักทีอาจตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลิกขายสินค้านี้ดีกว่า

   จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ

   • ราคาขายต่อหน่วย คือราคาขายของผลิตภัณฑ์ที่ขายได้ ไม่ใช่ราคาตั้งที่ยังต้องลดราคาอีก

   • ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย คือต้นทุนที่ผันแปรตามการผลิตคือ วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ ค่าแรงงานและค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ที่เกี่ยวกับการผลิตโดยตรง

   • ต้นทุนคงที่รวม คือค่าใช้จ่ายคงที่ที่จำเป็นต้องจ่ายไม่ว่าจะมีการขายเกิดขึ้นหรือไม่ เช่นค่าแรงพนักงานขาย ค่าเช่าหน้าร้าน ค่าเดินทางเป็นต้น

   การหาจุดคุ้มทุนเหมาะกับการวิเคราะห์สินค้าชนิดเดียวและเหมาะกับการตัดสินใจว่าจะไปออกบูทขายสินค้าหรือไม่ เพราะการไปออกบูทขายสินค้าแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายคงที่ที่ชัดเจนทำให้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่จะไปออกบูทขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศซึ่งบางครั้งไม่แน่ใจว่าควรจะไปดีหรือไม่ ยกตัวอย่างดังนี้

   การหาจุดคุ้มทุนยังสามารถคำนวณจำนวนหน่วยที่ขายเมื่อเราต้องการมีกำไรด้วยโดยการบวกกำไรที่ต้องการเพิ่มเข้าไปในค่าใช้จ่ายคงที่จะทำให้ทราบว่าจะต้องขายปริมาณกี่ชิ้น กี่กล่องถึงจะได้กำไรตามที่เราต้องการ โดยมีรูปแบบการคำนวณดังนี้

   จุดคุ้มทุนบวกกับกำไรที่ต้องการ = (ค่าใช้จ่ายคงที่ +กำไรที่ต้องการ) / (ราคาขายต่อหน่วย-ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

   การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนและจุดที่ขายแล้วมีกำไรตามต้องการก็เพื่อวางแผนการขายสินค้าก่อนที่จะผลิตเพราะผู้ประกอบการรายใหม่ไม่มีประสบการณ์การขายสินค้าก็ไม่แน่ใจว่าควรจะผลิตจำนวนมากน้อยเพียงใดทำให้สินค้าสำเร็จรูปไม่เพียงพอหรือมีเหลือมากเกินไป การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนนี้ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ในการวางแผนการผลิตและวางแผนการขายได้ด้วย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : https://bsc.dip.go.th

 10242
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
หากความสำคัญของงบดุล (Balance Sheet) คือแผนผังแสดงโครงสร้างหลักของกิจการ เพราะเป็นรายงานที่บ่งบอกถึงสภาพความมั่นคงเชิงเปรียบเทียบระหว่างสภาพสินทรัพย์และหนี้สิน งบกำไร/ขาดทุน (Income Statement) ก็คงเปรียบได้กับแผนผังเส้นเลือดของกิจการ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการทั้งหมดพร้อมแสดงออกมาในรูปกำไรหรือขาดทุนเพื่อบ่งบอกการเติบโตของกิจการ ซึ่งเป็นอีกรายงานทางการเงินที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่ใช้บันทึกเลขที่บัญชีของบัญชีต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเลขที่บัญชีนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างมีระบบ โดยตามมาตรฐานโดยปกติทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะต้องถูกกำหนดตามหมวดบัญชี โดยบัญชีทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวด

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์