สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้


ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี   

แต่ไม่ต้องกลัว บทความนี้เราได้สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และหลักการทางภาษีสําหรับกิจการ SMEs ทั่วไป หรือกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) มาไว้ให้แบบย่อๆ เพื่อผู้ทำบัญชีทุกท่านให้มองเห็นภาพรวมของความแตกต่าง สำหรับแต่ละรายการในงบการเงินได้ง่ายขึ้นค่ะ

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี VS หลักการทางภาษีสำหรับกิจการ NPAEs

1. เรื่องทั่วไป ในที่นี้เราพูดถึงภาพรวมของงบการเงิน หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชี หรือว่าเปลี่ยนประมาณการทางบัญชี สิ่งที่ต้องทำตามมาตรฐาน คือ ปรับปรุงรายการ และเปิดเผยในงบการเงิน ส่วนทางภาษีนั้นยุ่งยากหน่อยตรงที่ว่า บางเรื่องต้องขออนุมัติจากสรรพากร และต้องแก้ไข ภงด.50 ที่เคยยื่นไปย้อนหลังนะคะ



2. งบแสดงฐานะการเงิน
ในงบแสดงฐานะทางการเงิน มีหลากหลายหัวข้อที่แตกต่างกันระหว่างบัญชีและภาษี เช่น การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ การตั้งสำรองค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ การตีราคาเงินลงทุน การคิดต้นทุนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึงการคิดค่าเสื่อม ลองมาดูสรุป เรื่องสำคัญๆ ตามตารางนี้กันเลยค่ะ






3. งบกำไรขาดทุน ตัวอย่างขอข้อแตกต่างระหว่างบัญชีและภาษีที่เห็นได้ชัดของงบกำไรขาดทุน เช่น การรับรู้ต้นทุนการกู้ยืม การรับรู้สัญญาเช่าดำเนินงานและการเงิน ประมาณการหนี้สินต่างๆ การรับรู้รายได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น สัญญาก่อสร้าง การขายอสังหาริมทรัพย์ ลองมาดูสรุป เรื่องสำคัญๆ ตามตารางนี้กันเลยค่ะ







ความแตกต่างทางบัญชีและภาษี ถ้าศึกษาดีๆ แล้วแตกต่างกันในหลายๆ จุดเลยค่ะ หากอยากเข้าใจมากยิ่งขึ้น แนะนำว่าลองประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง และหมั่นทบทวนความรู้อยู่เรื่อยๆ ก่อนที่จะถึงเวลาคำนวณภาษีตอนปลายปี หรือลองเข้าอบรมในคอร์ส “สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี สําหรับกิจการ NPAEs”  เพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : thaicpdathome.com
 1983
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
สูตรการบัญชี ที่ใช้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลทางบัญชีไปวิเคราะห์ได้ง่ายยิ่งขึ้น จึง รวมสูดรบัญชี ดังนี้
มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ
เงินสดย่อยกับเงินกู้ยืมกรรมการมีความคล้ายกันตรงที่เป็นเงินของกิจการที่คนในกิจการต้องการนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกันทั้งคู่ แต่หากกิจการเกิดมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการขึ้นมาจะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วคนที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะขอเปรียบเทียบหน้าที่ของเงินทางบัญชีทั้งสองแบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร
"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยจะเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบบัญชี ระบบการบริหาร และระบบการจัดการบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์