สำหรับการคิดค่าลดหย่อน ที่สามารถนำมาคำนวณในกรณีต่างๆ มีดังนี้
1. ผู้มีเงินได้ จะได้ลดหย่อน ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 60,000 บาท หรือ 120,000 บาท แล้วแต่กรณี
2. คู่สมรส กรณีสามีหรือภรรยาไม่มีเงินได้ สามารถคิดลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท (เช่น ภริยาหักลดหย่อนฐานะผู้มีเงินได้ 30,000 บาท และหักลดหย่อนสามีได้อีก 30,000 บาท รวมเป็น 60,000 บาท และในการยื่นแบบให้แจ้งสถานะคู่สมรสไม่มีเงินได้)
3. บุตร คนละ 30,000 บาท บุตรที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
4. ค่าอุปการะบิดาหรือมารดาของตนเองหรือคู่สมรส มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ลดหย่อนภาษีได้ คนละ 30,000 บาท
5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาทต่อคน ยกมาจากแบบ ล.ย.04
6. เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาหรือคู่สมรส ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท
7. เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ, เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ของตนเอง รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
8. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท
9. เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
10. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
11. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF
12. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF (พิเศษ)
13. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน ไม่เกิน 100,000 บาท
14. เงินได้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ( ลดหย่อนตามมาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ)
15. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
16.ค่าซื้อและติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (เฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเท่านั้น)
17. ค่าธรรมเนียมการรับชำระด้วยบัตรเดบิต (เฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) )
18. ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
19. เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง 10,00 บาท
20. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ช้อปดีมีคืน ตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค. – 31 ธ.ค. 63 ได้แก่ (1)ค่าซื้อสินค้าและบริการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (2)หนังสือหรือ EBook (3) สินค้า OTOP
ที่มา :LINK