ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ


ภาษีคำนวณอย่างไร

            กฎหมายระบุไว้ว่าบุคคลที่มีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามฐานภาษีแบบขั้นบันได โดยเงินได้สุทธิที่นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนั้น เป็นดังนี้
   

เงินได้สุทธิ     =    เงินได้พึงประเมินทั้งปี - ค่าใช้จ่าย (ตามกฎหมายกำหนด) - ค่าลดหย่อน


เมื่อทราบยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ดังนี้

 ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่  ช่วงเงินได้สุทธิแต่ละขั้น อัตราภาษี (ร้อยละ)
 ภาษีแต่ละขั้น
 0-150,000 บาท  150,000 บาท  ได้รับยกเว้น  -
 150,001-300,000 บาท  150,000 บาท 5  7,500 บาท
 300,001-500,000 บาท  200,000 บาท 10  20,000 บาท
 500,001-750,000 บาท  250,000 บาท 15  37,500 บาท
 750,001-1,000,000 บาท  250,000 บาท  20  50,000 บาท
 1,000,001-2,000,000 บาท  1,000,000 บาท  25  250,000 บาท
 2,000,001-4,000,000 บาท  2,000,000 บาท  30  600,000 บาท
 4,000,001 บาทขึ้นไป    35  


รายได้เท่าไรจึงเริ่มเสียภาษี

            การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินทั้งปีเท่ากับ 240,000 บาท (รายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท) จะยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการคำนวณเป็นดังนี้

            เงินได้พึงประเมินทั้งปี                                                                    240,000    บาท
            หัก ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 40 ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท)    (60,000)    บาท
            หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                                  (30,000)    บาท
            เงินได้สุทธิ                                                                                 150,000    บาท

            เมื่อเงินได้สุทธิอยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงขั้นเงินได้สุทธิที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ทำให้ยังไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น ผู้มีเงินได้ที่เริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็คือ ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000 บาท นั่นเอง
 

            อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณภาษีแล้ว ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม แต่หากมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด อย่างเช่น ผู้ที่ทำงานประจำกินเงินเดือน หากมีรายได้เกิน 50,000 บาท ก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ โดยยื่นภายใน 31 มีนาคมของปีถัดไปนะคะ


 1074
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี CPA (Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์) การสอบ CPA เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในด้านบัญชีและงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นที่ยอมรับและเคารพในวงกว้างในวงการบัญชีและการเงิน
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
ผู้ทำบัญชี อย่าลืม “5 เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำเพื่อก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎมาย”
นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ
ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์