สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีกี่ประเภท

สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีกี่ประเภท



การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน

1. ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ

คือผู้ที่รับจ้างทำบัญชีในนามบุคคลธรรมดา  ไม่ได้มีการจดจัดตั้งเป็นนิติบุคคล  
  
แม้จะประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่านิติบุคคล  เช่น ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ อาจจะมีงานประจำอยู่แล้ว  และนำความรู้ความสามารถที่มีมารับจ้างทำบัญชี ในนามส่วนตัวเพิ่มเติม ก็เป็นไปได้

งานบัญชีเป็นงานวิชาชีพ รูปแบบกิจการจึงไม่ได้สำคัญไปกว่าความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพท่านนั้นๆ

2. นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี

สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้ “นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี” ไม่ว่าจะทำบัญชี หรือ สอบบัญชี ต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 30 วัน หลังจากการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วเสร็จ

โดยนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีนั้น จะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใดรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี 

เมื่อขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สภาวิชาชีพวิชาชีพบัญชีจะออกหนังสือรับรองตามตัวอย่างด้านล่างนี้ให้  ผู้ประกอบการสามารถขอตรวจสอบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีจากสำนักงานบัญชีได้

3. สำนักงานบัญชีคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองคุณภาพ ให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี

โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของสำนักงานบัญชีที่มีสิทธิจะเข้าร่วมการรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ คือ

  1. สำนักงานบัญชีซึ่งรับทำบัญชีของธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 30 ราย
  2. หัวหน้าสำนักงานต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลา มีประสบการณ์ด้านการทำบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว
  3. มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลา อย่างน้อย 1 คน
  4. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  5. ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
  6. หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  7. ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตาม 2 และ 6 ด้วย

สำนักงานบัญชีซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพจะได้รับหนังสือรับรองตามตัวอย่างด้านล่างนี้ ซึ่งมีกำหนดอายุ 3 ปี

หากสำนักงานบัญชีใดอ้างว่าเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ ผู้ประกอบการสามารถขอตรวจสอบหนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ ซึ่งออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้านี้ได้

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : โดย Accounting Center

 1142
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
เงินได้มาตรา 40(1) หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง
การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะบัญชีจะทำให้คุณทราบที่มาที่ไปของเงินในแต่ละส่วน มองเห็นผลกำไร ขาดทุนได้อย่างชัดเจนและที่สำคัญการทำบัญชียังช่วยลดการเกิดทุจริตภายในกิจการ สามารถทำการตรวจสอบย้อนข้อมูลทางการเงินหลังได้บริษัทส่วนใหญ่จึงทำการจ้างนักบัญชีเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เพื่อความถูกต้อง
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้กำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชี ไว้ 5 หมวด คือ รายละเอียดข้อกำหนดและคำชี้แจง แต่ละหมวด มีดังต่อไปนี้
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to Warehouse Management)คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้า ระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์