การควบคุมภายในเกี่ยวกับการซื้อ

การควบคุมภายในเกี่ยวกับการซื้อ


1.มีแผนกจัดซื้อป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้องกับ


1.1 การบัญชีทั่วไป

1.2 การทำบัญชีสินค้า

1.3 การรับของ

1.4 การจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า

1.5 การจ่ายเงินให้เจ้าหนี้

2. การซื้อกระทำโดย

2.1  

2.2 การจัดซื้อแต่ละครั้ง แผนกผลิตและคลังเป็นผู้เสนอแนะเกี่ยวกับชนิดและ ปริมาณของสินค้าที่จะซื้อ

2.3 สั่งซื้อจากรายการราคาขายของผู้ขายที่ได้รับการอนุมัติ

2.4 มีการเปรียบเทียบราคาจากผู้ขายหลายแห่ง เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด

2.5 ใบสั่งซื้อทำขึ้นโดย

- เรียงลำดับหมายเลขไว้ล่วงหน้า

- มีการอนุมัติการสั่งซื้อ

2.6 สำเนาใบสั่งซื้อได้ส่งไปยัง

- แผนกบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำใบสำคัญสั่งจ่าย

- แผนกรับของหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจรับของ

2.7 ใบรับของแสดงจำนวนที่นับได้จริง พร้อมทั้งลายเซ็นผู้ตรวจรับอย่างน้อย 2 คน

2.8 ในใบรับของได้ระบุถึงเงื่อนไขต่างๆ ในกรณีที่จะต้องมีการทดสอบคุณภาพใน ภายหลัง

2.9 ของที่มีคุณภาพพิเศษ จะต้องมีรายงานการตรวจสอบจากผู้ที่มีความชำนาญใน เรื่องนั้นโดยเฉพาะ

2.10 ใบรับของที่มีเลขที่เรียงลำดับและมีสำเนาส่งให้

- แผนกบัญชี เพื่อเก็บไว้กับใบสั่งซื้อ

- แผนกจัดซื้อ เพื่อติดตามรายการที่สั่งซื้อแล้ว แต่ยังไม่ได้รับของ

- แผนกคลังสินค้า เพื่อบันทึกบัญชีพัสดุคงเหลือ

- เก็บไว้ที่แผนกรับของ หรือเจ้าหน้าที่ผู้กระทำการตรวจรับของ

3. เมื่อมีการคืนของ จะจัดการโดยแผนกคลังสินค้าและแผนกรับของหรือเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจรับของ

3.1 ติดต่อเพื่อขอใบลดหนี้

3.2 แผนกจัดซื้อและบัญชีได้รับแจ้งเรื่องราวการคืนสินค้า

4. การตรวจสอบ

4.1 ใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี จากผู้ขายได้ตรวจสอบกับเอกสารเหล่านี้ก่อนจ่ายเงิน

- ใบสั่งซื้อ

- การรับของ

- รายงานการตรวจสอบคุณภาพ (ถ้ามี)

4.2 แผนกบัญชีไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ

- การสั่งซื้อ

- การรับของ

4.3 มีหลักฐานแสดงว่ามีการตรวจสอบใบส่งของในเรื่องต่อไปนี้

- ราคา

- ค่าขนส่ง

- การลดราคา หรือข้อโต้แย้งต่างๆ

4.4 ใบสำคัญที่จ่ายเงินแล้ว จะต้องมีการการทำเครื่องหมายเพื่อป้องกันการจ่ายซ้ำ

5. ใบสำคัญสั่งจ่ายจะต้องจัดทำสำหรับการซื้อและค่าใช้จ่ายทุกรายการ

6. ใบสำคัญสั่งจ่ายและเอกสารประกอบทุกฉบับ จะต้องมีเครื่องหมายแสดงว่าได้จ่ายเงิน แล้ว

7. จะต้องมีการตรวจสอบระยะเวลาที่จะต้องจ่ายด้วย เพื่อป้องกันการเบิกจ่ายผิดงวด

8. ใบสำคัญการสั่งจ่ายจะต้องมีการตรวจสอบและอนุมัติ




ทความโดย : www.jarataccountingandlaw.com
 945
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเริ่มต้นจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดนั้น จะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน และทำอะไรบ้าง เป็นคำถามที่หลายท่านสงสัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หรือแม้แต่กระทั่งนักบัญชีมือใหม่เอง
“ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?”
เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน
ในบทความนี้ เราจึงมีคำแนะนำดีๆ และเทคนิคง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปสำหรับสำนักงานบัญชี และนักบัญชีมาฝากกัน เพื่อเป็นตัวช่วยในการการบันทึกบัญชี เก็บรวบรวมเอกสาร สร้างรายงานที่สำคัญ รวมไปถึงการยื่นภาษี และปิดงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์