“ภาษี” ที่ไม่ควรเสียมากที่สุด คืออะไร ?

“ภาษี” ที่ไม่ควรเสียมากที่สุด คืออะไร ?


ภาษี” 
เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย

ภาษีทางอ้อมก็ต้องยอมรับว่าเราจะไปบริหารจัดการอะไรมากไม่ได้เพราะยังไงก็ต้องเสีย แต่อย่างภาษีทางตรงโดยเฉพาะภาษีเงินได้ จริงๆเราสามารถวางแผนภาษีเพื่อให้เสียภาษีน้อยลงได้ โดยวิธีหลักๆก็คือ การซื้อ SSF RMF และประกันชีวิต ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนจากทางกรมสรรพากร

นอกเหนือจากภาษีทางตรงและทางอ้อมที่เราจะต้องเสียให้กับรัฐบาล จริงๆยังมีภาษีอีกตัวนึงที่เป็นศัตรูตัวร้ายกับแผนการเงินของเราก็คือ “ภาษีสังคม”

เนื่องด้วยมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม แล้วก็ต้องยอมรับว่าการที่เราจะมีสังคมได้ ยังไงก็มีค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการไปกินเหล้ากับแก๊งเพื่อนๆ ออกไปเที่ยวกับเพื่อนที่ทำงาน หรือการซื้อของฝากเวลาที่เราไปเที่ยวกลับมา ภาษีสังคมก็คือรายจ่ายอะไรประมาณนี้แหละ

จากที่ลองดูบัญชีรายรับรายจ่ายของหลายๆคนที่เพิ่งเริ่มต้นวางแผนการเงิน แล้วอยากเริ่มต้นจัดสรรเงิน รายจ่ายนึงที่เจอเยอะมากๆก็คือรายจ่ายเรื่อง “ภาษีสังคม” เนี่ยแหละ

สำหรับเราคิดว่าภาษีสังคมยังไงก็เป็นรายจ่ายที่สำคัญตัวนึง ไม่ต้องถึงกับตัดทิ้งทั้งหมดและควรกันงบให้กับภาษีสังคมของเราในแต่ละเดือนอย่าให้บานปลายก็พอแล้วล่ะ ถ้าใครชอบปาร์ตี้บ่อยๆ พี่ทุยว่าความสนุกของปาร์ตี้คือคนที่เราไปด้วยหรือเพื่อนเรานี่แหละ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะเลย หรือถ้าใครรู้ตัวว่าเวลาไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนเปลืองตังค์เยอะแน่ๆ ก็จะแนะนำว่าให้กำหนดไปว่าเดือนนึงจะไปไม่เกินกี่ครั้ง 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง เป็นต้น บางคนเห็นมี 5-6 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถ้าเราประหยัดตรงนี้ได้เราก็ประหยัดเงินไปได้มากกว่า 2,000-3,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียวนะ

ถ้าอยากเริ่มต้นจัดสรรรายรับรายจ่าย เราลองมาโฟกัสที่รายจ่ายภาษีสังคมดู เชื่อได้เลยว่าหลังจากที่จดบัญชีรายรับรายจ่ายของเราสัก 1 เดือนแล้ว ต้องมีตกใจกันบ้างแน่นอน ว่าทำไมเราใช้เงินไปกับภาษีสังคมมากมายขนาดนี้



ขอบคุณบทความจาก :: https://www.accprotax.com  หรือ Click  

 686
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้
ปัจจุบันนี้ผู้คนจำนวนมากเลือกหันหลังให้กับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ออฟฟิศแล้วเปลี่ยนมาทำธุรกิจจดทะเบียนบริษัทเป็นของตัวเองเพราะต้องการเป็นนายตัวเองและอยากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงจะเห็นว่าเจ้าของธุรกิจหลายคนไม่ได้เป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจตั้งแต่แรก แต่หันมาเริ่มต้นตั้งใจและให้ความสนใจพร้อมกับมุ่งมั่นในการหาความรู้เพื่อสร้างธุรกิจของตนเองจนเรียกได้ว่าวันนี้มีธุรกิจ Start up มากมายที่มีแนวโน้มจะก้าวทันรายใหญ่ อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งไม่เพียงอาศัยความรู้หรือวางแผนบริหารจัดการองค์กร วางแผนการโฆษณาหรือสร้างแบรนด์เพื่อแจ้งเกิดให้กับบริษัทหรือเพื่อเพิ่มรายได้ผลกำไรเท่านั้น ยังมีเรื่องสำคัญอย่างการจดทะเบียนธุรกิจและอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เพราะนับว่าเป็นผลต่อการทำธุรกิจในระยะยาว กล่าวคือต้องรู้เพื่อไม่ให้พลาดและเป็นการทำตามกฎหมายที่ได้กำหนดนั่นคือการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ เอกสารสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบริษัทหรือธุรกิจนั้น ๆ ทั้งนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับคู่ค้าหรือสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกระดับ มาดูกันว่า“หนังสือบริคณห์สนธิ”คืออะไรมาทำความเข้าใจง่าย ๆ ในบทความนี้กันได้เลย
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์