เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี

เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี


ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า

“นักกฎหมาย เปรียบเสมือน เหยี่ยว” : “นักบัญชี เปรียบเสมือน นกพิราบ”

อย่างไรก็ตามนักบัญชีก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องของกฎหมาย แม้จะไม่มีความจำเป็นถึงกับจะต้องสามารถอ้างมาตราของกฎหมายได้ในทุกครั้ง แต่นักบัญชีก็จะต้องรู้ว่าเรื่องที่จะต้องทำของงานบัญชีนั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง

กฎหมายและข้อปฏิบัติหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ที่นักบัญชีจำเป็นต้องรู้
  1. พระราชบัญญัติการบัญชี 2543
  2. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี 2547
  3. ประกาศกรมทะเบียนการค้า (ที่ยังมีผลบังคับอยู่)
  4. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  6. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499
  7. ประมวลรัษฎากร
  8. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
  9. มาตรฐานการบัญชี (ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย)
  10. ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๖๑
  11. ข้อกำหนดอื่น(ที่อาจมี อันเกิดจากลักษณะเฉพาะของแต่ละประเภทธุรกิจที่ต้องมีกฎหมายเฉพาะในการควบคุม)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.greenprokspforsme.com  หรือ Click
 864
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to Warehouse Management)คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้า ระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่
กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์