หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก

หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก



อากร
 หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

ของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร เป็นของที่ต้องเสียอากร  สามารถค้นหาอัตราอากร ได้จากพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530   โดยภาค 2 เป็นอัตราสำหรับการนำเข้า ทั้งนี้ ต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดพิกัดของของ ที่เรียกว่า ระบบฮาร์โมไนซ์  (สากล เป็นชุดเลขรหัส 6 หลัก แต่อาเซียนตกลงกันภายในจัดแบ่งย่อยเป็น 8 หลัก )  ภาค 3 เป็นอัตราสำหรับการส่งออก นอกจากนี้ในพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ยังมีของที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นอากรหากนำของเข้า หรือ ส่งของออก แล้วแต่กรณี แต่ต้องมีลักษณะตามเงื่อนไขที่กำหนด  โดยสามารถค้นหาได้จาก ภาค 4 ว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร

อัตราภาษีที่เรียกเก็บ บางประเภทเรียกเก็บตามสภาพ บางประเภทเรียกเก็บตามราคา บางประเภทเรียกเก็บทั้งตามสภาพ และ ตามราคา

ตามสภาพ หมายถึง อัตราที่เรียกเก็บตามจำนวน ปริมาตร ปริมาณ เช่น กระบือตัวละ 500 บาท น้ำมันลิตรละ 0.50 บาท เป็นต้น

ตามราคา หมายถึง อัตราที่รียกเก็บตามร้อยละของราคาศุลกากร เช่น  รองเท้านำเข้า  อัตรา 30 % ของราคา C.I.F (Cost,Insurance and Freight : ราคาสินค้ารวมทำพิธีส่งออก/ค่าขนส่ง/ค่าประกัน)  
ไม้ส่งออก อัตรา 10% ของราคา F.O.B.(Free On Bord: ราคาสินค้ารวมทำพิธีส่งออก)

ของใดที่กฎหมายกำหนดให้มีทั้งอัตราตามสภาพ และ อัตราตามราคา ให้คำนวณทั้ง 2 แบบ และให้ชำระอากรตามแบบที่คำนวณอากรได้สูงสุด

ของนำเข้าที่นำเข้ามาเพื่อการส่งออก ไม่ว่าจะส่งออกในสภาพเดิม หรือ ในสภาพที่ผ่านกระบวนการผลิต สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่รัฐบาลกำหนดเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรมีทั้ง การคืนอากรที่ได้ชำระแล้ว หรือ การยกเว้นอากรขาเข้า อากรขาออก ทั้งนี้ ผู้ใช้สิทธิประโยชน์ต้องทำตามเงื่อนไข วิธีการที่กฎหมายหรือประกาศกำหนด

การชำระอากร ให้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด ปัจจุบันเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่การนำเข้า ส่งออก บางประเภท กรมศุลกากรอนุญาตให้ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออก เช่น  ของทางไปรษณีย์   ของติดตัวผู้โดยสาร

อากรที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนเงินได้ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ หากชำระอากรไว้ขาดกรมศุลกากรมีสิทธิ์เรียกเก็บอากรที่ขาดได้ตามกำหนดเวลา   

ผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออก หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางศุลกากร ต้องเก็บเอกสารที่ใช้ในการศุลกากรตามที่กรมศุลกากรกำหนด 5 ปี นับแต่วันนำของเข้าหรือส่งของออก  และหากเลิกกิจการต้องเก็บไว้อีก 2 ปี นับแต่วันเลิกกิจการ

บทลงโทษ : การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีบทลงโทษ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา   




อ้างอิง : https://www.customs.go.th
 579
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับการว่าจ้าง
โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ
การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี  
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์