กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ถึง 31 ธ.ค.2568

กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ถึง 31 ธ.ค.2568



กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax)  ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ 
สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้

ฉบับแรก ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ เป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568  โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป ซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ 

1.ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)  เช่น การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
2.ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบภาษี หัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) เช่น การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้นำส่งภาษี
3.ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการระบบใบกากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) และระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) จากผู้ให้บริการ เช่น ค่าบริการของผู้ให้บริการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าบริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
 
ฉบับที่สอง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ มีสาระสำคัญ เป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) โดยนิติบุคคล (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม) และบุคคลธรรมดา จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีอัตราร้อยละ 5 ร้อยละ 3 และร้อยละ 2 ลดเหลือร้อยละ 1 (จากเดิมที่ลดร้อยละ 2) สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568


การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์นี้
 จะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 20 ล้านบาท แต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ
1)ส่งเสริมให้ภาคเอกชนใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax อย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย
2) ลดต้นทุนการจัดทำ การจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการเสียภาษีของภาคเอกชน และ 3) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e - Withholding Tax) จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น ปีละประมาณ 9,800 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นเม็ดเงินหมุนเวียนที่เพิ่มมูลค่าให้แก่ระบบเศรษฐกิจต่อไป





ที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/64128
 795
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
ถึงแม้ว่านักบัญชีที่จบใหม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในวงจรการจัดทำบัญชี แต่อย่างไรก็ดี ก็ควรสอนให้นักบัญชีจบใหม่เข้าใจลำดับขั้นตอนวงจรในการจัดทำบัญชีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี
สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์