ยื่นภาษีออนไลน์ คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ยื่นภาษีออนไลน์ คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง


การยื่นภาษีถือว่าเป็น “หน้าที่” ของทุกคนที่มีรายได้

เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"

โดยในปัจจุบันมีการเปิดช่องทางให้ยื่นภาษีออนไลน์

เป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเข้าถึงการยื่นภาษีได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น และยังลดขั้นตอนการยื่นภาษีจากอดีต ทำให้การยื่นภาษีเป็นไปโดยง่าย รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น  

ภาษีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

การยื่นภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

    -ภ.ง.ด.94 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)-(8) ต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของงวดเดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน ภายในเดือนกันยายนปีเดียวกัน (เป็นการเสียภาษีครึ่งปี สำหรับคนไม่มีเงินเดือน แต่มีรายได้ อย่างอื่นมาแทนเช่น ปันผลจากกองทุนและหุ้น ขายที่ดินได้)

    -ภ.ง.ด.91 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภท “เงินเดือน” อย่างเดียวให้ยื่่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของทั้งปี (ครั้งเดียว) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

    -ภ.ง.ด.90 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่มิใช่เงินเดือน หรือมีเงินได้ 2 ประเภท ขึ้นไป (หรือสำหรับคนมีเงินเดือนและมีรายได้อื่นด้วย เช่น ปันผลจากกองทุนและหุ้น ขายที่ดินได้ หรือจากมรดก เป็นต้น)

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

    1. สามารถยื่นภาษีออนไลน์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ https://www.rd.go.th/ และเลือก ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต

    2. เลือก ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 โดยเลือกภาษีเงินได้จากประเภทเงินได้ที่เราได้รับจากประเภทการยื่นภาษีที่กล่าวมาข้างต้น

    3. ขั้นตอนสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตและผู้ที่เคยยื่นมาก่อนแล้ว จะมีช่องแบบฟอร์มให้กรอกสำหรับการลงทะเบียนก่อนในเบื้องต้น แต่หากเป็นผู้ที่เคยยื่นภาษีออนไลน์มาแล้ว สามารถเข้าไปที่รายละเอียดการ “ยื่นภาษี” ได้เลย

    4. ให้เราใส่หมายเลขและรหัสผ่านที่ได้รับ จากนั้นให้กรอกรายละเอียดให้ครบทุกช่องทางตามที่ขึ้นโชว์หน้าเว็บไซต์ หากกรอกไม่ครบถ้วนจะไม่สามารถบันทึกรายการได้ จะต้องย้อนกลับไปกรอกใหม่ให้ครบถ้วน

    5. บันทึกเงินได้ บันทึกลดหย่อน จากนั้นให้กดคำนวณภาษี ซึ่งระบบจะทำการคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ จากนั้นให้ยืนยันการยื่นแบบ

สำหรับผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินและขอคืนภาษี สามารถสมัครบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีธนาคารไว้กับบัตรประชาชน จะได้รับเงินคืนจากการขอคืนภาษีที่เร็วกว่าการจ่ายคืนเป็นเช็ค โดยกรมสรรพากรจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกด้วยพร้อมเพย์ได้ง่าย ทำให้เราได้รับเงินคืนภาษีที่เร็วและสะดวกขึ้น 


ที่มา : Link

 660
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็คเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้คุณประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมาก แต่สิ่งนี้จะมีโทษมากกว่าหากผู้ประกอบการขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
ใบเสร็จรับเงิน จริงๆ แล้วคือเอกสารที่ใช้ในการรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้เช่าออกใบเสร็จนี้ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขายหรือผู้ให้เช่านั้นได้รับเงินแล้ว การออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ว่าให้ผู้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ขายทันที เมื่อมีการรับเงิน โดยไม่เว้นแต่กรณีที่ผู้ซื้อจะขอหรือไม่ขอก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก อาจจะไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง แต่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าต้องออกใบเสร็จรับเงินต่อเมื่อมีการขายสินค้าที่มีจำนวนเงินเกิน 100 บาท/ต่อครั้ง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์