ลูกหนี้การค้า

ลูกหนี้การค้า


ลูกหนี้การค้า 
ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี

ลูกหนี้การค้า หมายถึง
ลูกหนี้การค้า ภาษาอังกฤษ คือ Receivable หมายถึง สิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งของ เจ้าหนี้การค้า ในการที่จะให้ชำระหนี้ด้วยเงินสดหรือทรัพย์สินอย่างอื่น โดยคาดหมายความว่า จะได้รับชำระเต็มจำนวน เมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้จัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งของกิจการและควรแสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับนั่นก็คือ จำนวนที่คาดหมายว่าจะเก็บได้

โดยสรุปแล้วคำว่า ลูกหนี้การค้า ก็คือลูกหนี้จากการทำธุรกิจของกิจการ เพราะลูกหนี้การค้าคือช่องทางการรั่วไหลของเงินที่ดีมากในงบการเงิน เรียกว่าถ้าโกงกันเมื่อไหร่ เขาจะชอบโกงกันที่นี่เป็นหลักกันเลย  ลูกหนี้การค้าจึงมีความสำคัญในการวิเคราะห์งบการเงินนั่นเอง

โดยปกติแล้วลูกหนี้การค้าจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ลูกหนี้การค้า และ ลูกหนี้อื่น หากสงสัยว่าลูกหนี้การค้า หมายถึงอะไร แนะนำให้อ่านเลย รับรองว่าได้คำตอบแน่นอนว่าลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น คืออะไร

1. ลูกหนี้การค้า ( Trade Receivable )
คือ ลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ และจะมีชื่อบัญชีแตกต่างกันได้ตามประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ หมายถึงบัญชีระหว่างธนาคารที่มีดอกเบี้ย เงินให้สินเชื่อ และดอกเบี้ยค้างรับกิจการประกันภัย หมายถึงบัญชีเบี้ยประกันภัยค้างรับ เงินค้างรับเกี่ยวกับการประกันต่อและเงินให้กู้ยืม

2. ลูกหนี้อื่น ๆ ( Other Receivable )
คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ ลูกหนี้ที่เกิดจากรายการค้าประเภทอื่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปนอกเหนือจากการขายสินค้าหรือบริการ เช่น

– เงินกู้ให้ยืม เช่น เงินให้กู้ยืมแก่พนักงานและลูกจ้าง เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วม

– เงินมัดจำ เช่น เงินมัดจำที่จ่ายให้ผู้ขายเพื่อรับประกันการจ่ายเงิน เงินมัดจำความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

– รายได้ค้างรับ เช่น เงินปันผลค้างรับ ดอกเบี้ยค้างรับ

– สิทธิเรียกร้อง เช่น สิทธิเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยให้ชดใช้ค่าสินไหมเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สิทธิเรียกร้องต่อรัฐบาลสำหรับการรับเงินภาษีคืน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.moneywecan.com

 2433
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ 
แนวทางการบันทึกบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป การขายสินค้าออนไลน์
สินทรัพย์ในทางบัญชี หมายถึง ทรัพยากรที่มีและอยู่ในการควบคุมของกิจการ สินทรัพย์นี้อาจจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งสามารถตีราคามูลค่าเป็นเงินได้ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผล ของ เหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคตเราสามารถ
การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะบัญชีจะทำให้คุณทราบที่มาที่ไปของเงินในแต่ละส่วน มองเห็นผลกำไร ขาดทุนได้อย่างชัดเจนและที่สำคัญการทำบัญชียังช่วยลดการเกิดทุจริตภายในกิจการ สามารถทำการตรวจสอบย้อนข้อมูลทางการเงินหลังได้บริษัทส่วนใหญ่จึงทำการจ้างนักบัญชีเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เพื่อความถูกต้อง
หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์