ภาษาอังกฤษกับนักบัญชี

ภาษาอังกฤษกับนักบัญชี


ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC
 ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก

       ดังนั้นการสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วจึงช่วยต่อยอดธุรกิจอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทักษะนอกเหนือจากความสามารถความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้กับนักบัญชีอย่างคุณอีกด้วย

เหตุผลที่นักบัญชีควรตระหนักเรื่องภาษา ?

  • มีผลต่อการทำงานที่กว้างขวางมากขึ้น เมื่อธุรกิจเติบโตแน่นอนว่าต้องมีนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทยสูงขึ้น บริษัทจำเป็นต้องมีฝ่ายการเงินหรือนักบัญชี เป็นผู้บริหารจัดการเรื่องตัวเลขภายใน ยิ่งนักบัญชีเองต้องเจอกับคำศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวกับการคำนวณมากมาย ถ้าได้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นมากกว่าหนึ่งหรือสองภาษาก็นับได้เปรียบในการทำงานและมีโอกาสเติบโตทั้งในสายอาชีพและสายธุรกิจที่สนใจร่วมงาน
  • ภาษาเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรเป้าหมายของเราต้องคิดเผื่ออนาคตเสมอ (หรือแผนสำรองของธุรกิจ) เพื่อขยายธุรกิจไปยังประเทศต่าง ๆ หรือแม้แต่เจรจาเพื่อขยายฐานลูกค้าให้เป็นที่รู้จักทั้งในและนอกประเทศ ยิ่งเราเป็นนักบัญชีแล้วนั้นการจะเพิ่มฐานลูกค้าเข้าบริษัทหรือกิจการของตัวเอง ด้วยปัจจุบันที่โอกาสเปิดกว้างเช่นนี้ แล้วอะไรจะพาเราไปถึงเป้าหมายได้นอกจากมีความสามารถ...นั้นก็คือภาษา! โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากล เพราะมนุษย์ต้องรู้จักการสื่อสารเป็นหลักนั่นเอง 
  • เป็นมืออาชีพ สร้างความมั่นใจกับลูกค้า อาจจริงที่นักบัญชีบางท่านอาจคิดว่าตนทำงานอยู่ที่โต๊ะตลอดเวลา ไม่ได้ไปพบเจอใคร ภาษาอังกฤษจึงไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรกับตัวเองมากนัก แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถขยายฐานลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น ไม่ต้องรอล่ามเป็นตัวกลางสื่อสาร อีกทั้งในยุคที่ทุกอย่างล้วนเป็นสากล ผู้ใช้บริการจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นถ้าหากคนทำงานดูมีความเป็นมืออาชีพมีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ สามารถรองรับลูกค้าได้หลากหลายโดยเฉพาะต่างชาติที่เป็นลูกค้าสำคัญ

       เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญของภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษแล้ว บริษัท ธรรมนิติการบัญชีการบัญชีและภาษีอากร จำกัด จึงขอรวบรวมคำศัพท์เฉพาะ 26 คำศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับสายงานบัญชี และบางคำศัพท์จากหน้ารายงานงบการเงิน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาชีพรุ่นใหม่และผู้ประกอบการได้ทราบและเข้าใจมากยิ่งขึ้นเมื่อเจอกับศัพท์เหล่านี้ค่ะ

คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษี

คำศัพท์  ความหมาย
 Cash flow  กระแสเงินสด
 Leasing  การเช่า
 Factoring การซื้อขายบัญชีลูกหนี้
 Financial audit  การตรวจสอบงบการเงิน
 Amortization  การตัดบัญชี
 Cut-off  การตัดยอด
 Administrative accounting  การบัญชีบริหาร
 Forecasting  การประมาณการ
 Adjustment  การปรับปรุงรายการ
 Cost allocation  การปันส่วนต้นทุน
 Posting  การผ่านรายการบัญชี
 Reconciliation  การพิสูจน์ยอด
 Revenue recognition  การรับรู้รายได้
 Break-even analysis  การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
 Bank overdraft  เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร
 Deposit เงินมัดจำ
 Hire purchase  เช่าซื้อ
 Carry forward  ยอดยกไป
 Bring forward  ยอดยกมา
 Additional Filing  การยื่นเพิ่มเติม
 Request for Tax refund  คำร้องขอคืนภาษี
 Audit adjustment  รายการปรับปรุงจากการตรวจสอบบัญชี
 Supplementary statement  รายละเอียดประกอบ
 Leasehold  สิทธิการเช่า
 Inventory  สินค้าคงเหลือ
 Finished goods  สินค้าสำเร็จรูป


       หลังจากได้รู้จักคำศัพท์เบื้องต้นแล้ว ต่อมาเรามาลองมาดูรูปแบบประโยคภาษาอังกฤษเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นและสามารถใช้ในการสื่อสารจริงกับทางลูกค้าหรือผู้ติดต่อในสาขาอาชีพได้ค่ะ

ตัวอย่างประโยคที่ใช้

- The total expense is slightly more this year.
รายจ่ายรวมปีนี้เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย


- The total revenue of this year is higher than last year.
รายรับรวมปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว


- I would like to see the set of Payment Voucher and Receipt Voucher.
ฉันขอดูชุดสำคัญรับและชุดสำคัญจ่าย


- You can request for Tax refund.
คุณสามารถขอคืนภาษีได้


- The interest rate of this year is high.
อัตราดอกเบี้ยของปีนี้สูง

       ยิ่งทักษะรอบตัวเรามีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เปรียบในยุคที่ต้องแข่งขันสูง หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์และสนับสนุนให้ทุกท่านหันมาสนใจภาษาอังกฤษกันเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์และผลดีกับตัวท่านเองและองค์กรค่ะ


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

แหล่งที่มา : Link

 723
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์