รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงิน

รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงิน


ใบเสร็จรับเงินคืออะไร?

ใบเสร็จรับเงิน จริงๆ แล้วคือเอกสารที่ใช้ในการรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้เช่าออกใบเสร็จนี้ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขายหรือผู้ให้เช่านั้นได้รับเงินแล้ว การออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ว่าให้ผู้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ขายทันที เมื่อมีการรับเงิน โดยไม่เว้นแต่กรณีที่ผู้ซื้อจะขอหรือไม่ขอก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก อาจจะไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง แต่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าต้องออกใบเสร็จรับเงินต่อเมื่อมีการขายสินค้าที่มีจำนวนเงินเกิน 100 บาท/ต่อครั้ง

บิลเงินสดคืออะไร?

บิลเงินสดจริงๆ แล้วคือเอกสารในการรับเงินที่ผู้รับเงินออกให้แก่ผู้จ่ายเงิน เพื่อเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานว่าได้รับชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คล้ายกับใบเสร็จรับเงิน แต่จะมีความเป็นทางการน้อยกว่าใบเสร็จรับเงิน โดยปกติแล้วบิลเงินสดจะเป็นหน้าตาเปล่าๆ หรือเป็นแบบฟอร์มที่ให้คนขายกรอกข้อมูลลงในบิลเอง ถ้าหากพูดถึงประโยชน์ของบิลเงินสดก็คือเหมือนกับใบเสร็จรับเงินนั่นเอง

ใบเสร็จรับเงินและบิลเงินสดแตกต่างกันอย่างไร?<

จริงๆ แล้วใบเสร็จรับเงินกับบิลเงินสดไม่ได้มีความแตกต่างอะไรกันมากนัก ถ้าในมุมมองของคนทำบัญชีจะถือว่าทั้งใบเสร็จรับเงินและบิลเงินสดเป็นเอกสารรับเงิน แต่จะแตกต่างกันที่ความน่าเชื่อถือของแต่ละบิล โดยบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินจะใช้ก็ต่อเมื่อลูกค้ามาซื้อสินค้าหรือบริการแล้วชำระเงินทันที แต่ใบเสร็จรับเงินจะใช้ก็ต่อเมื่อลูกค้าได้มาใช้จ่ายชำระหนี้จากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ผ่านมาแล้ว

วิธีแก้ปัญหาเวลาไม่ได้รับใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสด

ปกติแล้วหลายครั้งที่เวลาเราไปซื้อของหรือซื้อสินค้า แต่คนขายไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดให้เรา แล้วเราจะทำยังไงกัน ในเมื่อเราไม่สามารถใช้เอกสารมาใช้ในการเป็นหลักฐานในการจ่ายได้ อย่าตกใจไป เบื้องต้นในกรณีนี้ทางสรรพากรมีวิธีการแก้ปัญหาให้ดังต่อไปนี้

กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ผู้รับเงินไม่มีหลักฐานการรับเงินที่เพียงพอต่อการบันทึกบัญชี กิจการ สามารถจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยอาจเลือกใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1. ให้ใช้ใบรับเงินแทน

โดยปกติเอกสารนี้จะเอาไว้ใช้สำหรับผู้รับเงินยินยอมออกใบรับเงินโดยจะต้องมีข้อมูลที่สำคัญดังกล่าวตามด้านล่างนี้

  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
  • ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
  • เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
  • วันเดือนปีที่ออกใบรับ
  • จำนวนเงินที่รับ
  • ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า
2. ให้ใช้ใบสำคัญรับเงิน

โดยปกติแล้วจะใช้ในกรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้แต่ยินยอมที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน

3. ให้ใช้ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

ตามปกติแล้วใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจาก ผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!




ขอบคุณบทความจาก :: www.kmcpaccounting.com 

 993
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็คเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้คุณประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมาก แต่สิ่งนี้จะมีโทษมากกว่าหากผู้ประกอบการขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน
แผนกจัดซื้อเป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้อง
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์