การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง

การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง


ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง

ลักษณะของค่าแรงงาน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ค่าแรงงานทางตรง

2. ค่าแรงงานทางอ้อม

สำหรับขั้นตอนเกี่ยวกับค่าแรงงานนั้น จะแยกอธิบายเป็น 2 แผนก คือ

แผนกบุคคล (Personal Department) มีหน้าที่เก็บเวลาการทำงาน กำหนดอัตราค่าจ้างของพนักงาน นอกจากนี้แผนกบุคคลยังมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของพนักงาน รวบรวมเวลาทำงานของพนักงานในแต่ละวัน เช่น

ใช้เครื่องบันทึกเวลา หรือนาฬิกาบันทึกเวลา โดยจัดวางไว้ตรงทางเข้าของพนักงาน และให้พนักงานนำบัตรลงเวลาประจำตัวสอดเข้าไปในเครื่องเพื่อบันทึกเวลาการทำงานก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงาน

ใช้สมุดลงเวลา เหมาะสำหรับกิจการที่จ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนประจำ

ใช้ทั้งเครื่องบันทึกเวลา และสมุดลงเวลา เช่น เมื่อพนักงานเข้ามาถึงทางเข้าของบริษัท ก็จะสอดบัตรลงเวลาประจำตัวที่เรียงไว้ตามชั้นใกล้ๆเครื่องบันทึกเวลาโดยมีชื่อพนักงานและรหัสประจำตัวติดอยู่ตามชั้นวางเข้าไปในเครื่องเพื่อบันทึกเวลาการทำงาน เมื่อพนักงานเข้าไปในแผนกทำงานของตน จะลงเวลาที่สมุดลงเวลาอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อแผนกบุคคลรวบรวมเวลาการทำงานของพนักงานแต่ละคนเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำส่งรายงานการปฏิบัติงานให้แก่แผนกบัญชีต่อไป

แผนกบัญชี (Accounting Department) มีหน้าที่ในการคำนวณ จำแนก และบันทึก

บัญชีค่าแรงงาน โดยนำข้อมูลจากแผนกบุคคลมาบันทึกรายการบัญชี และจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้

ฝ่ายบัญชีเงินเดือนและค่าแรง

เมื่อได้รับรายงานการปฏิบัติงานจากแผนกบุคคลแล้วจะคำนวณค่าจ้าง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินประกันสังคม รายการอื่นๆ รวมทั้งบันทึกรายการและจำนวนเงินต่างๆ ลงในสมุดเงินเดือนและค่าแรงแล้วผ่านรายการจากสมุดเงินเดือนและค่าแรงไปยังบัญชีเงินได้ของพนักงานแต่ละคน นอกจากนี้ยังส่งสมุดเงินเดือนและค่าแรงให้แก่ฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้ด้วย

ฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้

เมื่อได้รับสมุดเงินเดือนและค่าแรงจากฝ่ายบัญชีเงินเดือนและค่าแรงแล้ว จะทำใบสำคัญจ่ายขึ้น 2 ฉบับ คือ

ใบที่ 1 นำส่งให้ฝ่ายการเงินพร้อมสมุดเงินเดือนและค่าแรงเพื่อรอจ่ายเงิน

ใบที่ 2 สำหรับเก็บเข้าแฟ้มไว้ที่แผนกของตน

ฝ่ายบัญชีต้นทุน

เมื่อได้รับรายงานจากแผนกบุคคลก็จะทำการแยกค่าแรงแต่ละประเภทของกระบวนการผลิตเพื่อคำนวณต้นทุนการผลิต

สำหรับการคำนวณค่าแรง จะแยกการคำนวณเป็น 2 ขั้นตอน คือ

ค่าแรงงานขั้นต้น (Gross payrolls)

เมื่อพนักงานบัญชีรวบรวมค่าแรงงานของพนักงานจากบัตรลงเวลาทำงานก็จะทำการคำนวณ

ค่าแรงงานต่างๆ ซึ่งพิจารณาจากชั่วโมงการทำงาน หรือตามชิ้นงาน การคำนวณค่าแรงงานดังกล่าวจะประกอบด้วยค่าแรงงานปกติ และค่าแรงงานล่วงเวลา

ค่าแรงงานปกติ มีสูตรในการคำนวณ ดังนี้

คำนวณค่าแรงตามชั่วโมงการทำงาน

ค่าแรงงานปกติ = จำนวนชั่วโมงการทำงาน X อัตราค่าแรงงานรายชั่วโมง

คำนวณค่าแรงตามชิ้นงาน

ค่าแรงงานปกติ = จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ X อัตราค่าแรงงานตามชิ้นงาน

ตัวอย่างที่ 1 นายมานพ ทำงานกับโรงงานแห่งหนึ่ง มีช่วงทำงานปกติ คือ 08.00 – 17.00 หยุดวันเสาร์และอาทิตย์ โดยได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงปกติชั่วโมงละ 50 บาท ชั่วโมงการทำงานของนายมานพในสัปดาห์นี้เป็นดังนี้

วัน จำนวนชั่วโมงการทำงาน

จันทร์ 8

พุธ 2

พฤหัสบดี 8

ศุกร์ 5

รวมชั่วโมงการทำงาน 23 ดังนั้นค่าแรงปกติเท่ากับ 23 X 50 = 1,150 บาท

ค่าแรงงานล่วงเวลา

ค่าแรงงานล่วงเวลาเกิดจากการที่พนักงานทำงานเกินชั่วโมงทำงานปกติซึ่งตพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. 2541 ได้บัญญัติเกี่ยวกับชั่วโมงทำงานปกติของกิจการอุตสาหกรรมว่า นายจ้างจะต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานปกติไว้เท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ซึ่งในแต่ละกิจการจะกำหนดชั่วโมงการทำงานปกติไม่เท่ากัน

1. อัตราค่าแรงงานล่วงเวลาในวันทำการปกติ เป็นการทำงานในช่วงเวลาเกินกว่า

ช่วงเวลาปกติของเวลาทำการ เช่น เวลาทำการปกติคือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 แต่หากพนักงานทำงานในวันดังกล่าวตั้งแต่ 08.00 - 20.00 ช่วงเวลาหลังจาก 17.00 ถือเป็นค่าแรงล่วงเวลาในวันทำงานปกติ เวลาส่วนที่เกินดังกล่าวนายจ้างต้องจ่าย ค่าแรงให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของค่าแรงงานในอัตราปกติ

2. อัตราค่าแรงงานล่วงเวลาในวันหยุด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

2.1 ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเวลาทำการปกติ เช่น เวลาทำการปกติ คือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา08.00 – 17.00 แต่หากพนักงานทำงานในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ ในช่วงเวลา 08.00 – 17.00 ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นค่าแรงล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเวลาปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าแรงงานในอัตราปกติ

2.2 ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเกินกว่าเวลาทำการปกติ เช่น เวลาทำการปกติ คือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 แต่ทำงานในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ ในช่ว

เวลาหลัง 17.00 ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นค่าแรงล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งเกินกว่าช่วงเวลาทำการปกตินายจ้างต้องจ่ายค่าแรงให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าแรงงานในอัตราปกติ

ตัวอย่างที่ 2 บริษัท เควิน จำกัด ได้กำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงาน คือ ทำงานตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันเสาร์ ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 . (พักเที่ยง 1 ..) ดังนั้นเวลาทำการปกติเท่ากับวันละ 8 ชั่วโมงๆละ 20 บาท นายปิยะซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทได้ทำงานประจำสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ดังนี้

วันทำงาน เวลาทำงาน ชั่วโมงทำงาน

จันทร์ 09.00 – 17.00 7 อังคาร 08.00 – 20.00 11

พุธ 08.00 – 21.00 12

พฤหัสบดี 08.00 – 21.00 12

ศุกร์ 08.00 – 21.00 12

เสาร์ 08.00 – 21.00 12

อาทิตย์ 08.00 – 23.00 14

การคำนวณค่าแรงขั้นต้นของนายปิยะ เป็นดังนี้

วันทำงาน

ชั่วโมงการทำงาน

ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันทำการปกติ

เท่าครึ่ง

ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเวลาทำการปกติ

เท่า

ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเกินกว่าเวลาทำการปกติ

เท่า

จันทร์

7

-

-

-

อังคาร

8

3

-

-

พุธ

8

4

-

-

พฤหัสบดี

8

4

-

-

ศุกร์

8

4

-

-

เสาร์

8

4

-

-

อาทิตย์

-

-

8

6

รวม

47

19

8

6

ตารางที่ 2.4 แสดงการคำนวณค่าแรงขั้นต้น

ค่าแรงงานปกติ (47 X 20) 940 บาท

ค่าแรงงานล่วงเวลาในวันทำการปกติ (19 X 20 X 1.5) 570 บาท

ค่าแรงงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเวลาทำการปกติ (8 X 20 X 2) 320 บาท

ค่าแรงงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเกินกว่าเวลาทำการปกติ (6 X 20 X 3) 360 บาท

รวมค่าแรงงานขั้นต้น 2,190 บาท

ค่าแรงงานสุทธิ (Net Payrolls)

การคำนวณค่าแรงงานของพนักงาน ไม่ว่าจะจ่ายตามชั่วโมงการทำงาน รายชิ้นงานที่ผลิต หรือเงินเดือน นายจ้างจำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากค่าจ้างที่จ่ายให้แก่พนักงานเพื่อนำส่งกรมสรรพากร ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายของลูกจ้างแต่ละคนจะมีจำนวนที่แตกต่างกันไปตามจำนวนรายได้ สถานภาพ และกิจกรรมต่างๆที่จะได้รับสิทธิ เช่น คู่สมรส บุตร บุพการี ประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม เงินบริจาค เป็นต้น ดังนั้นค่าแรงงานสุทธิ คือ ค่าแรงงานขั้นต้น หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินประกันสังคม ฯลฯ

การบันทึกบัญชี เป็นดังนี้

เดบิต ค่าแรงงาน XX

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย XX

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย XX

ประกันสังคมค้างจ่าย XX

(บันทึกค่าแรงงาน)

-----------------------------------------------------------

เดบิต งานระหว่างผลิต(ตรง) XX

ค่าใช้จ่ายการผลิต(อ้อม) XX

เครดิต ค่าแรงงาน XX

(จำแนกค่าแรงงาน)

-----------------------------------------------------------

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย XX

เครดิต เงินสด XX

(จ่ายค่าแรงงาน)

-----------------------------------------------------------

เดบิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย XX

เครดิต เงินสด XX

(จ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

-----------------------------------------------------------

เดบิต ประกันสังคมค้างจ่าย XX

ประกันสังคม XX

เครดิต เงินสด XX

(จ่ายเงินประกันสังคม)

ตัวอย่างที่ 3 บริษัท บางนาตกแต่ง จำกัด ได้ทำการสรุปจำนวนเงินเดือน และค่าแรงงานของพนักงานในแผนกตกแต่ง สิ้นหรับสิ้นสุด 31 ธันวาคม 25 X 1 ดังนี้

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

อัตราเงินเดือนและค่าแรง

จำนวนชั่วโมงการทำงาน

นายมาโนช สีเหลือง

หัวหน้าแผนก

30,000

-

นายมานะ สีน้ำเงิน

คนงาน

100 บาท/..

45

นางมานี สีแดง

คนงาน

100 บาท/..

48

นายมานั่น สีเขียว

คนงาน

100 บาท/..

40

ตารางที่ 2.5 แสดงการทำสรุปเงินเดือนและค่าแรง

จากข้อมูลข้างต้นสามารถนำมาจำแนกเป็นชั่วโมงการทำงานปกติ และชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาได้ดังนี้

 

ชื่อ – สกุล

จำนวนชั่วโมงการทำงานปกติ

จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา(ปกติ) 1 เท่าครึ่ง

จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา(วันหยุด) 2 เท่า

นายมาโนช สีเหลือง

-

-

-

นายมานะ สีน้ำเงิน

40

2

3

นางมานี สีแดง

40

6

2

นายมานั่น สีเขียว

40

-

-

ตารางที่ 2.5 แสดงการจำแนกชั่วโมงทำงานปกติและชั่วโมงทำงานล่วงเวลา

ข้อมูลเพิ่มเติม : 1. อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของค่าแรงงานทั้งหมด

2. อัตราประกันสังคม 5% ของค่าแรงงานปกติ

ค่าล่วงเวลาดังกล่าวเกิดจากไฟฟ้าดับ ทำให้พนักงานต้องทำงานล่วงเวลาเพิ่มเติม

งานระหว่างผลิต ค่าใช้จ่ายการผลิต

นายมาโนช - 30,000

นายมานะ 4,000(40 x 100) -

200(2 x 100 x 1) 100(2 x 100 x 0.5)

300(3 x 100 x 1) 300(3 x 100 x 1)

นางมานี 4,000(40 x 100) -

600(6 x 100 x  1) 300(6 x 100 x 0.5)

200(2 x 100 x 1) 200(2 x 100 x 1)

นายมานั่น 4,000(40 x 100) -

13,300 30,900

ใบบันทึกการจ่ายค่าแรง(แสดงการคำนวณ)

การบันทึกบัญชี เป็นดังนี้

เมื่อบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 44,200

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 38,430

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย 4,420

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 1,350

เมื่อจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต(ทางตรง) 13,300

ค่าใช้จ่ายการผลิต(ทางอ้อม) 30,900

เครดิต ค่าแรงงาน 44,200

เมื่อจ่ายค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 38,430

เครดิต เงินสด 38,430

การจ่ายค่าแรงงานในลักษณะอื่นๆ

1. ค่าแรงงานล่วงเวลา (Overtime)

ค่าแรงงานล่วงเวลาที่ต้องจ่าย ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดขึ้นไว้ล่วงหน้า

จัดเป็น“งานระหว่างผลิต”

ตัวอย่างที่ 4 บริษัท สมประสงค์ จำกัด มีพนักงาน 5 คน ในแต่ละสัปดาห์  

พนักงานแต่ละคนจะทำงานตามเวลาปกติวันละ 8 ชั่วโมง อัตราค่าแรงชั่วโมงละ 

80 บาท นอกจากนี้พนักงานแต่ละคนจะทำงานล่วงเวลาอีกวันละ 3 ชั่วโมง อัตรา

ค่าแรงงานชั่วโมงละ 120 บาท(ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 

5%ของค่าแรงงานปกติ)

ค่าแรงงานขั้นต้น = (5 x 8 x 80) + (5 x 3 x 120)

= 3,200 + 1,800

= 5,000 บาท

ค่าแรงงานสุทธิ = 5,000 – (5,000 x 10%) – (3,200 x 5%)

= 4,340 บาท

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 5,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 4,340

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 500

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 160

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 5,000

เครดิต ค่าแรงงาน 5,000

ค่าแรงงานล่วงเวลาที่ต้องจ่าย ซึ่งไม่เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดขึ้นล่วงหน้า เช่น 

เครื่องจักรเสีย ขาดวัตถุดิบในการผลิตอย่างต่อเนื่อง ค่าแรงล่วงเวลาดังกล่าวจัด

เป็น “ค่าใช้จ่ายการผลิต”

 

ตัวอย่างที่ 5 บริษัท สมศักดิ์ จำกัด จ้างพนักงานทำการผลิตอัตราค่าจ้างชั่วโมง

ละ 70 บาท ในสัปดาห์นี้ผู้จัดการโรงงานได้กำหนดให้พนักงานทำงานล่วงเวลา

จำนวน 6 คนๆละ 4 ชั่วโมงเนื่องจากเมื่อต้นสัปดาห์บริษัทประสบปัญหาขาด

วัตถุดิบในการผลิต พนักงานจำนวน 6 คนดังกล่าวได้ทำงานในชั่วโมงปกติไปแล้ว 

200 ชั่วโมง (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 5%ของค่าแรงงาน

ปกติ)

ค่าแรงงานขั้นต้น = (200 x 70) + (6 x 4 x 105*)

= 14,000 + 2,520

= 16,520 บาท

* 70 x 1.5 = 105

ค่าแรงงานสุทธิ : = 16,520 – (16,520 x 10%) – (14,000 x 5%)

= 14,168 บาท

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 16,520

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 14,168

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,652

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 700

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต(200+24)x(70 x 1) 15,680

ค่าใช้จ่ายการผลิต 24 x(70 x 0.5) 840

เครดิต ค่าแรงงาน 16,520

2. เงินโบนัสให้แก่พนักงาน(Bonus) จัดเป็น “ค่าใช้จ่ายการผลิต”

ตัวอย่างที่ 6 บริษัท อารมณ์ จำกัดได้ประมาณเงินโบนัสให้แก่พนักงานตอนสิ้นปี 25 X1 เท่ากับ 300,000 บาท และในเดือนมกราคมนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานทั้งสิ้นเป็นเงิน 100,000 บาท(ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 5%ของค่าแรงงานปกติ)

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 100,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 85,000

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10,000

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 5,000

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 100,000

ค่าใช้จ่ายการผลิต() 25,000

เครดิต ค่าแรงงาน 100,000

เงินสำรองโบนัสแก่พนักงาน 25,000

บันทึกล้างเงินสำรองโบนัสแก่พนักงาน

เดบิต เงินสำรองโบนัสแก่พนักงาน 300,000

เครดิต เงินสด 300,000

3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี(Vacation Pay) จัดเป็น “ค่าใช้จ่ายการผลิต”

ตัวอย่างที่ 7 บริษัท จารีต จำกัด จ่ายค่าแรงงานให้กับพนักงานคนหนึ่งเดือนละ 14,000 บาท และให้พนักงานดังกล่าวได้มีสิทธิหยุดลาพักร้อนปีละ 9 วัน(ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 5%ของค่าแรงงานปกติกำหนดให้ 1ปีมี 365 วัน

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 14,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 11,900

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,400

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 700

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 14,000

ค่าใช้จ่ายการผลิต(14,000 x ) 345.21

เครดิต ค่าแรงงาน 14,000

เงินสำรองหยุดพักผ่อนแก่พนักงาน 345.21

ตัวอย่างที่ 8 จากตัวอย่างที่ 7 หากสมมุติว่าพนักงานดังกล่าวขอใช้สิทธิลาหยุด 1 วันในเดือนมีนาคม การลงบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจ่ายค่าแรงงานในเดือนมีนาคมจะเป็นดังนี้

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 14,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 11,900

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,400

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 700

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 13,539.72

ค่าใช้จ่ายการผลิต(14,000 x ) 345.21

เงินสำรองหยุดพักผ่อนแก่พนักงาน 115.07*

เครดิต ค่าแรงงาน 14,000

* 345.21 x 12 = 4,142.52 บาท

= 460.28 บาท

460.28 – 345.21 = 115.07 บาท

เหตุผลที่งานระหว่างผลิตลดลงในเดือนที่พนักงานลาหยุด เพราะพนักงานทำงานไม่เต็มเดือน

 

4. สวัสดิการต่างๆ (Welfare) เช่น ค่าอาหารกลางวันค่ารักษาพยาบาล,ค่าจ้างรถรับส่งจัดเป็น“ค่าใช้จ่ายการผลิต”

ตัวอย่างที่ 9 บริษัท บึงกุ่ม จำกัด มีสวัสดิการที่ให้แก่พนักงานฝ่ายผลิตประจำเดือนตุลาคม 25x1 คือ

ค่าเช่ารถจำนวน 120,000 บาท และค่าอาหารกลางวัน 50,000 บาท

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิต 170,000

เครดิต เงินสด 170,000

5. เงินชดเชยเมื่อออกจากงาน(Severance Pay) จัดเป็น “ค่าใช้จ่ายการผลิต”

ตัวอย่างที่ 10 บริษัท สุริยา จำกัด จ่ายค่าแรงงานโดยเฉลี่ยต่อเดือนๆละ 250,000 บาท และกิจการมีนโยบายให้เงินชดเชยแก่พนักงานเมื่อออกจากงานโดยจะเก็บเดือนละ 5% (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 5%ของค่าแรงงานปกติ)

        บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 250,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 212,500

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 25,000

ประกันสังคมค้างจ่าย 12,500

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 250,000

ค่าใช้จ่ายการผลิต(250,000 x 5%) 12,500

เครดิต ค่าแรงงาน 250,000

เงินสำรองพนักงานออกจากงาน 12,500

บันทึกจ่ายเงินชดเชยเมื่อพนักงานออกจากงาน(สมมุติจ่าย 400,000 บาท)

เดบิต เงินสำรองพนักงานออกจากงาน 400,000

เครดิต เงินสด 400,000

 

สรุปการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน

รายการ

การบันทึกบัญชี

บันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน XX

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย XX

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย XX

ประกันสังคมค้างจ่าย XX

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต(ตรง) XX

ค่าใช้จ่ายการผลิต(อ้อม) XX

เครดิต ค่าแรงงาน XX

บันทึกจ่ายค่าแรงงานเป็นเงินสด

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย XX

เครดิต เงินสด XX

บันทึกจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินสด

เดบิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย XX

เครดิต เงินสด XX

บันทึกจ่ายเงินประกันสังคมเป็นเงินสด

เดบิต ประกันสังคมค้างจ่าย XX

ประกันสังคม XX

เครดิต เงินสด XX

ตารางที่ 2.6 สรุปการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน

 37224
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
3 รายการสำคัญที่ต้องมี เพื่อความสมบูรณ์ของบัญชี ผู้จัดทำบัญชีทุกประเภทต้องปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า โดยประเด็นสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือเรื่องของ “ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี” แบ่งตามประเภทบัญชี ดังนี้
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป
บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์